[ใหม่] ข้าวกล้องออร์แกนิค หอมนิลล้านนา
360 สัปดาห์ ที่แล้ว
- แพร่ - ลอง - คนดู 39
รายละเอียด
ข้าวกล้องออร์แกนิค หอมนิลล้านนา คือสายพันธุ์ข้าวสีดำที่เก่าแก่สายพันธุ์หนึ่งของไทย เป็นข้าวที่มีสีดำโดยกำเนิด ไม่ได้มีการย้อมสีใดๆทั้งสิ้น ข้าวปลูกในดินแดนล้านนาทางภาคเหนือที่มีดินภูเขาอันอุดมสมบูรณ์ อากาศหนาวเย็น เป็นข้าวที่ได้รับการคัดเลือกจนได้ข้าวที่มีเมล็ดข้าวกล้องเรียวยาว สีม่วงเข้มจนถึงดำขึ้นอยู่กับดินที่ปลูกและสภาพอากาศ ข้าวกล้องเมื่อหุงสุกจะนุ่มเหนียว มีรสชาติ มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองแตกต่างจากข้าวสีอื่น มีคุณประโยชน์มากมายแตกต่างจากข้าวสีอื่นๆ
ข้าวสีนิลนี้สีอย่างไรก็ไม่ขาว และแบบที่กำลังเป็นที่นิยมบริโภคกันคือการสีแบบข้าวกล้อง ยิ่งเป็นข้าวกล้องที่เพิ่งเกี่ยวใหม่ในฤดูการปลูกล่าสุด จะได้กินข้าวที่นุ่มมาก หอมมากจนคุณติดใจ แต่ถ้าไปซื้อข้าวที่เก็บไว้นานๆ (โดยส่วนใหญ่จะเป็นแบรนด์ดังๆ) จะเจอข้าวสีนิลที่แข็ง…เกินอร่อย แล้วก็จะเข็ด โดยโทษข้าวว่าเป็นข้าวที่ไม่อร่อยบ้าง แข็งเกินไปบ้าง… เคล็ดลับการกินข้าว ไม่ว่าคุณจะกินข้าวแบบไหนก็ตาม ถ้าเลือกซื้อข้าวที่เพิ่งเกี่ยวไปฤดูเกี่ยวล่าสุด และเพิ่งสีมาไม่นาน จะได้กินข้าวที่นุ่ม อร่อยกว่าข้าวค้างปี และสีทิ้งไว้นาน
คุณประโยชน์ของข้าวกล้องหอมนิลล้านนา
สารต้านอนุมูลอิสระ (ANTI-OXIDANT) สูงกว่าข้าวกล้องทั่วไป 7 เท่า ช่วยลดโอกาสการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต โรคข้อ รวมทั้งโรคมะเร็ง ลดคอเรสเตอรอล ลดปัญหาโรคอ้วน เลือดข้น เลือดเป็นพิษ
สารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ที่ช่วยทำให้เส้นผมดกดำ นุ่มสลวยไม่แตกปลาย ช่วยบำรุงรากผมให้ แข็งแรง กระตุ้นให้ผมมีสีเข้มขึ้น ชะลอการเกิดผมหงอก
สารแกมมา ออริซานอล (gamma-oryzanol) กระตุ้นต่อมไร้ท่อให้ขับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในเพศชายอย่างสม่ำเสมอ ลดอาการผิดปกติในวัยใกล้หมดประจำเดือน ชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์ กระตุ้นให้ตับสร้างสารอินซุลิน
วิตามินบีรวม ป้องกันและบรรเทาอาการแขน-ขาไม่มีแรง ปวดกล้ามเนื้อ บำรุงสมอง
วิตามินบี 1 ป้องกันโรคเหน็บชา ช่วยการทำงานของระบบประสาท
วิตามินบี 2 ป้องกันโรคปากนกกระจอก
ฟอสฟอรัส ช่วยการเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน
แคลเซียม ทำให้กระดูกแข็งแรง ป้องกันตะคริว
ทองแดง สร้างเมล็ดโลหิต และเฮโมโกลบิน
ธาตุเหล็ก ชนิดดูดซึมได้ทันที(สูงกว่าข้าวกล้องทั่วไป 30 เท่า) ป้องกันโรคโลหิตจาง
ไนอะซิน บำรุงผิวและเส้นประสาท ป้องกันโรคเพลลากรา(ท้องเสีย ประสาทไหว)
คาร์โบไฮเดรต ให้พลังงานแก่ร่างกาย
โปรตีน 12.5% (มากกว่าข้าวกล้องทั่วไป) เสริมสร้างร่างกาย ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
ไขมันที่ดี ไม่มีคอเรสเตอรอล ช่วยการดูดซึมวิตามิน A,D,E,K ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น
เส้นใยไฟเบอร์ ช่วยให้ขับถ่ายสะดวก ป้องกันมะเร็งลำไส้
* ข้อมูลจาก: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์ไบโอเทค
ข้าวสีนิลนี้สีอย่างไรก็ไม่ขาว และแบบที่กำลังเป็นที่นิยมบริโภคกันคือการสีแบบข้าวกล้อง ยิ่งเป็นข้าวกล้องที่เพิ่งเกี่ยวใหม่ในฤดูการปลูกล่าสุด จะได้กินข้าวที่นุ่มมาก หอมมากจนคุณติดใจ แต่ถ้าไปซื้อข้าวที่เก็บไว้นานๆ (โดยส่วนใหญ่จะเป็นแบรนด์ดังๆ) จะเจอข้าวสีนิลที่แข็ง…เกินอร่อย แล้วก็จะเข็ด โดยโทษข้าวว่าเป็นข้าวที่ไม่อร่อยบ้าง แข็งเกินไปบ้าง… เคล็ดลับการกินข้าว ไม่ว่าคุณจะกินข้าวแบบไหนก็ตาม ถ้าเลือกซื้อข้าวที่เพิ่งเกี่ยวไปฤดูเกี่ยวล่าสุด และเพิ่งสีมาไม่นาน จะได้กินข้าวที่นุ่ม อร่อยกว่าข้าวค้างปี และสีทิ้งไว้นาน
คุณประโยชน์ของข้าวกล้องหอมนิลล้านนา
สารต้านอนุมูลอิสระ (ANTI-OXIDANT) สูงกว่าข้าวกล้องทั่วไป 7 เท่า ช่วยลดโอกาสการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต โรคข้อ รวมทั้งโรคมะเร็ง ลดคอเรสเตอรอล ลดปัญหาโรคอ้วน เลือดข้น เลือดเป็นพิษ
สารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ที่ช่วยทำให้เส้นผมดกดำ นุ่มสลวยไม่แตกปลาย ช่วยบำรุงรากผมให้ แข็งแรง กระตุ้นให้ผมมีสีเข้มขึ้น ชะลอการเกิดผมหงอก
สารแกมมา ออริซานอล (gamma-oryzanol) กระตุ้นต่อมไร้ท่อให้ขับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในเพศชายอย่างสม่ำเสมอ ลดอาการผิดปกติในวัยใกล้หมดประจำเดือน ชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์ กระตุ้นให้ตับสร้างสารอินซุลิน
วิตามินบีรวม ป้องกันและบรรเทาอาการแขน-ขาไม่มีแรง ปวดกล้ามเนื้อ บำรุงสมอง
วิตามินบี 1 ป้องกันโรคเหน็บชา ช่วยการทำงานของระบบประสาท
วิตามินบี 2 ป้องกันโรคปากนกกระจอก
ฟอสฟอรัส ช่วยการเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน
แคลเซียม ทำให้กระดูกแข็งแรง ป้องกันตะคริว
ทองแดง สร้างเมล็ดโลหิต และเฮโมโกลบิน
ธาตุเหล็ก ชนิดดูดซึมได้ทันที(สูงกว่าข้าวกล้องทั่วไป 30 เท่า) ป้องกันโรคโลหิตจาง
ไนอะซิน บำรุงผิวและเส้นประสาท ป้องกันโรคเพลลากรา(ท้องเสีย ประสาทไหว)
คาร์โบไฮเดรต ให้พลังงานแก่ร่างกาย
โปรตีน 12.5% (มากกว่าข้าวกล้องทั่วไป) เสริมสร้างร่างกาย ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
ไขมันที่ดี ไม่มีคอเรสเตอรอล ช่วยการดูดซึมวิตามิน A,D,E,K ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น
เส้นใยไฟเบอร์ ช่วยให้ขับถ่ายสะดวก ป้องกันมะเร็งลำไส้
* ข้อมูลจาก: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์ไบโอเทค