[ใหม่] ฆ้อง กลองเพลง ตำบลทรายมูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

750 สัปดาห์ ที่แล้ว - อุบลราชธานี - คนดู 1,723
  • ฆ้อง กลองเพลง ตำบลทรายมูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี รูปที่ 1
รายละเอียด

การทำฆ้อง บ้านคอนสาย ตำบลทรายมูล อำเภอพิบูลมังสาหาร
จังหวัดอุบลราชธานี

ความแตกต่างของฆ้อง
การทำฆ้องเริ่มมีการทำมานานมาแล้ว ฆ้องจะพบเห็นกันแพร่หลายมาก เพราะฆ้องเป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นลูกกลมๆ มีจูม 9 จูม โดยมีจูมที่ใหญ่ที่สุดคือจูมกลางเพราะจูมกลางเป็นจูมที่ใช้ตีฟังเสียง ส่วนอีก8จูมที่เหลือคือจูมเล็กมีอยู่รอบจูมใหญ่ โดยจูมเล็กพวกนี้มีหน้าที่ในการเป็นตัวบังคับเสียงของฆ้องให้มันมีเสียงยังไง
แต่สำหรับฆ้อง 9 จูมนี้เขาถือกันว่าเป็นฆ้องมงคลและฆ้องแต่ละประเทศจะแตกต่างกัน เช่นฆ้องมอญก็จะมีลักษณะเล็กมีจูมเดียว ไม่มีจูมเล็ก เป็นต้น โดยที่แต่ละประเทศจะทำฆ้องแตกต่างกัน แต่มีจุดหนึ่งที่คล้ายคลึงกันคือเป็นรูปร่างวงกลม สำหรับฆ้องในประเทศไทยนั้น จะมีลักษณะเด่นตรงที่ฆ้องของไทยจะมีจูมทั้งหมด 9 จูมและจูมเดียว ฆ้องของไทยนั้นในสมัยก่อนจะผลิตโดยการหล่อ โดยการนำขางหรือทองคำขาวนั้นมาหล่อเป็นฆ้อง ในสมัยก่อนนั้นการทำฆ้องนั้นยากลำบากมากเพราะต้องใช้เวลาในการหล่อฆ้องต้องใช้ไฟในอุณหภูมิที่สูงมากจึงทำให้การทำฆ้องในสมัยก่อนโบราณนั้นลำบากและต้องใช้แรงงานของคนจำนวนมากในสมัยนี้ถ้าจะหาดูฆ้องเก่าในสมัยโบราณนั้นหาดูยากมาก แต่สำหรับการทำฆ้องสมัยนี้ไม่ยากเพราะมีเทคโนโลยีมาช่วย การทำฆ้องปัจจุบันนี้ไม่ใช้ทองคำขาวแล้วเพราะหายากและมีราคาแพง จึงได้ทำฆ้องจากทองเหลือง สำหรับระยะเวลาการทำฆ้องในปัจจุบันนี้ใช้เวลาเพียง1วันก็สามารถทำฆ้องได้ตั้ง5-6ลูกต่อวัน เพราะว่าไม่ได้ไปหล่อเหมือนสมัยก่อนนั้น เอง


การทำฆ้องเริ่มทำเมื่อไร
ที่จริงแล้วการทำฆ้องนั้นทำมานานแล้วแต่ในถ้าถามว่าการทำฆ้องที่หมู่บ้านคอนสาย ตำบลทรายมูล
อำเภอพิบูลมังสาหารจังหวัดอุบลราชธานี นี้ทำมานานแล้วหรือยังนี้ต้องถามผู้รู้ เป็นคนให้ตอบคำถามนี้กันค่ะ
เราได้คุณบุญรักษ์ สีชนะ (อดีตประธานกลุ่มฆ้องไทยและผู้ผลิตฆ้อง) เป็นวิทยากรในการตอบคำถามนี้กันค่ะ
ตอบ: คุณบุญรักษ์: ครับ! สำหรับการทำฆ้องของเรานี้ มีมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษสืบทอดต่อกันมาถึงคุณพ่อของผมเองครับ โดยคุณพ่อของผมท่านได้ไปเรียนรู้มาจากคุณพ่อของท่านมาอีกที ท่านได้เรียนการทำฆ้องมาจากพ่อของท่านนั้นท่านก็ได้มาหัดทำเองที่บ้าน โดยครั้งเเรกที่ท่านทำยังไม่เป็นผลงานที่น่าดูเท่าไรครับเพราะว่าในสมัยนั้นก็ยังไม่มีเครื่องมือที่สมบูรณ์แบบสักเท่าไรท่านจึงทำผลงานออกมาไม่ค่อยดีจากนั้นไม่นานท่านก็สามารถทำฆ้องที่สมบูรณ์แบบได้ ท่านได้ทำฆ้องนั้นขายตามหมู่บ้านต่างๆ จากนั้นท่านก็ได้มาสอนลูกๆทำฆ้องครับ โดยครอบครัวของผมนั้นมีลูกชายเพียงแค่ 2 คนเองครับ ท่านได้สอนผมและพี่ชายของผมครับ เริ่มแรกเรา 2 คนคิดว่ามันคงจะทำยากน่าดู แต่ความคิดมันก็เป็นเพียงความคิดเท่านั้นเองครับ เพราะว่าเรา2 คน ก็สามารถทำได้ครับ จากนั้นเรา 2 คนก็ได้เริ่มทำมาจนถึงปัจจุบันนี้ครับ โดยมีเพื่อนบ้านก็มาหัดทำ ก็เลยทำกันเป็นทั้งหมู่บ้านเลยครับจากนั้นไม่นานฆ้องของเราก็เป็นสินค้าที่ต่างประเทศสนใจ จากนั้นเราก็ส่งฆ้องไปยังต่างประเทศทำให้เรามีรายได้เข้ามาในหมู่บ้าน อีกอย่างฆ้องของเราก็เป็นสินค้า "หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์"หรือที่เรียกกันว่าสินค้า OTOP ครับ

สำหรับวันนี้ที่ได้ไปสัมภาษณ์คุณบุญรักษ์ สีชนะมาน่ะค่ะ ก็ได้นำโศกฆ้องมาฝากกันด้วยค่ะ
โศกฆ้อง คือ คำพูดที่สมัยปู่ย่าตายายใช้ในการเสี่ยงทายว่าฆ้องที่เราซื้อไปในถ้านำไปถวายวัดจะดีไหม ? ในโศกฆ้องนี้จะมีประโยคที่ดีและไม่ดี เช่น ถ้าตกคำว่า “ม้างสังโค” หมายถึง ต้องทำการรื้อสิ่งของ ถ้าตกคำว่า “ตีออกบ้านปราบเอาชัย” หมายถึง การที่จะกระทำสิ่งใดในหมู่บ้านหรือวัดมีแต่สิ่งดีๆๆและนำชัยชนะมาด้วย ดังนั้นเวลาที่จะซื้อฆ้องถ้ามีรุ่นปู่ย่าตายายมาซื้อฆ้องท่านจะพากันวัดฆ้องก่อนที่จะซื้อไปถวายวัด เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและวัดที่จะนำไปถวายด้วย จากนี้ก็จะบทกล่าวโศกฆ้องน่ะค่ะ

สิทธิมั่งคละโชค
ตีอวดโลกปล่าวดูดาย
เสียงดังวายบ่มั่ว
เสียงดังทั่วพื้นแผ่นธรณี
แสนมเหสีมานั่งเฝ้า
เป็นเจ้าแผ่นทองเหลือง
แห่ขุนเมืองขึ้นนั่งแท่น
ตีอูดเอ้าเสพขอนผี
นางธรณีตกใจกลัวสะท้าน
ตีออกบ้านปราบเอาชัย


สำหรับท่านที่ต้องการดูงาน หรือต้องการสอบถามข้อมูลการผลิตก็สามารถติดต่อได้ที่คุณบุญรักษ์ สีชนะได้ค่ะ
สถานที่ทำฆ้อง
สถานที่ทำฆ้องอยู่ที่บ้านคอนสาย ตำบลทรายมูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี หรือสามารถมาได้ที่บ้าน คุณบุญรักษ์ สีชนะ <อดีตประธานกลุ่มฆ้องไทยและผู้ผลิตฆ้อง>
สาขา1ที่ บ้านเลขที่ 91 หมู่ 6 บ้านคอนสาย ตำบลทรายมูล อำเภอ พิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี 34110 หรือที่เบอร์โทรศัพท์ 081-967-4291, 045-846-018 สาขาที่ 2 คือ หลักกิโลเมตรที่37 สายอุบล-พิบูล ใกล้กับกระทรวงศึกษาธิการ เขต 3




จัดทำโดย นางสาว อมรประภา สีชนะ
จัดทำขึ้นเพื่อเป็นรายงานในการศึกษาในหัวข้อเรื่อง ภูมิปัญญาไทยประจำหมู่ของตนเอง