[ใหม่] ภารกิจควบคุมอารมณ์และความรู้สึก วิธีลดพุง ลดอ้วน

661 สัปดาห์ ที่แล้ว - นครนายก - คนดู 284
  • ภารกิจควบคุมอารมณ์และความรู้สึก วิธีลดพุง ลดอ้วน รูปที่ 1
  • ภารกิจควบคุมอารมณ์และความรู้สึก วิธีลดพุง ลดอ้วน รูปที่ 2
  • ภารกิจควบคุมอารมณ์และความรู้สึก วิธีลดพุง ลดอ้วน รูปที่ 3
รายละเอียด
รวมวิธีลดพุง ลดต้นขา ลดต้นแขน วิธีลดน่องและสะโพก


ภารกิจควบคุมอารมณ์และความรู้สึก วิธีลดพุง ลดอ้วน

หลักในการควบคุมอารมณ์และความรู้สึกขณะลดน้ำหนัก

สิ่งที่สำคัญที่สุด คือต้องควบคุมสิ่งกระตุ้นทั้งจากภายใน และภายนอก โดยพยายามตัดวงจรหรือพฤติกรรมที่ทำให้เกิดความรู้สึกหิว เบื่อหรือท้อแท้ โดยต้องสังเกตเองว่า พฤติกรรมหรือปัจจัยใดเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกหิวหรือไม่สามารถ ยับยั้งชั่งใจได้

ฝึกการหายใจเพื่อคลายเครียด ดีกว่ากินเกินเพราะเครียด

ตามปกติคนทั่วไปจะหายใจตื้นๆ ทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายน้อยกว่าที่ควร ยิ่งเมื่อเกิดอาการเครียด การหายใจก็จะถี่และตื้นกว่าเดิม การฝึกให้หายใจช้าๆ ลึกๆ อย่างถูกวิธี จะทำให้หัวใจเต้นช้าลง การเผาผลาญอาหารสมบูรณ์ขึ้น ความดันโลหิตลดลง สมองแจ่มใส ความเครียดลดลง และอารมณ์ดีขึ้น

วิธีการฝึก

นั่งในท่าที่สบาย หลับตา ค่อยๆ หายใจเข้า พร้อมกับนับเลข 1 ถึง 4 เป็นจังหวะช้าๆ 1...2...3...4... ให้รู้สึกว่าท้องพองออก

กลั้นหายใจเอาไว้สักครู่ นับ 1 ถึง 4 เป็นจังหวะช้าๆ เช่นเดียวกับเมื่อหายใจเข้าค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออก โดยนับ 1 ถึง 8 อย่างช้าๆ 1...2...3...4...5...6...7...8 พยายามไล่ลมหายใจออกมาให้หมด สังเกตว่าหน้าท้องแฟบลงทำซ้ำอีกครั้ง โดยหายใจเข้าช้าๆ กลั้นไว้ แล้วหายใจออก โดยช่วงเวลาที่หายใจออกให้นานกว่าช่วงเวลาหายใจเข้า

 

ข้อแนะนำ

ควรฝึกทุกครั้งที่รู้สึกเครียด รู้สึกหิว รู้สึกไม่สบายใจหรือฝึกทุกครั้งที่นึกได้ ควรทำติดต่อกันประมาณ 4-5 ครั้ง ทุกครั้งที่หายใจออก ให้รู้สึกได้ว่าผลักดันความเครียดออกมาด้วยจนหมดเหลือไว้แต่ความรู้สึกอิ่ม โล่งสบายเท่านั้น ในแต่ละวัน ควรฝึกหายใจที่ถูกวิธีให้ได้ประมาณ 40 ครั้ง แต่ไม่จำเป็นต้องทำติดต่อในคราวเดียวกัน

เคล็ดลับการควบคุมอารมณ์และความรู้สึก ขณะลดน้ำหนักมีดังนี้

1. มี ความเชื่อมันต่อการลดน้ำหนัก ด้วยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย ซึ่งการลดน้ำหนักด้วยวิธีนี้เป็นการลดน้ำหนักที่มีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยสูง

2. หาแรงจูงใจหรือเหตุผลในการลดน้ำหนักและรอบพุงแก่ตัวเองเสมอ และเตือนตัวเองเป็นระยะ

3. ตั้ง เป้าหมายในการลดน้ำหนัก รวมถึงเป้าหมายในการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกายอย่างชัดเจน แต่ต้องมีลักษณะค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป หากทำได้ถึงเป้าหมายก็ค่อยๆ เพิ่มเป้าหมายขึ้นทีละน้อยจนถึงเกณฑ์ที่ตั้งไว้ เพื่อเป็นกำลังใจในการลดน้ำหนัก

4. การ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคไม่ใช่อดอาหาร สามารถทำได้อย่างต่อเนื่องแต่ในช่วงแรกร่างกายยังปรับตัวไม่ได้อาจรู้สึก หงุดหงิด หรือ หิวแต่ถ้าปฏิบัติอย่างต่อเนื่องอาการเหล่านี้จะหายไปเช่นเดียวกับการออก กำลังกายหากทำต่อเนื่องก็จะเคยชิน

5. ให้ สะกดใจตัวเอง และระลึกไว้เสมอว่าหากยิ่งบริโภคอาหารมากเท่าใด มื้อต่อไปๆ ไป ก็จะยิ่งหิวมากขึ้น ดังนั้น จึงควรบริโภคอย่างพอดีในทุกๆ มื้อ อย่างดบางมื้อ บริโภคหนักเป็นบางมื้อ

6. หากรู้สึกหิว ให้เปลี่ยนอิริยาบถหรือหากิจกรรมอื่นทำแทน เพียง 10 นาทีก็จะหายหิวหากไม่ดีขึ้นให้บริโภคน้ำหรือน้ำซุปเพื่อบรรเทาอาการหิว

7. อย่าพยายามอดอาหารเพราะจะทำให้มื้อถัดไปหิวมาก และอาจบริโภคอาหารในปริมาณเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม

8. หลีก เลี่ยงสถานการณ์หรือสิ่งกระตุ้นที่ทำให้ไม่สามารถควบคุมความหิวได้ เช่นการไปงานเลี้ยง การไปร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ การไปเดินในซุปเปอร์มาเก็ต หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรมีการวางแผนล่วงหน้า และอย่าเสียดายของเหลือ ควรนึกถึงสุขภาพก่อน

9. หา คำพูดและวิธีการในการปฏิเสธอาหารที่ยื่นให้โดยผู้อื่น หรือคะยั้ยคะยอให้บริโภคต่อ เช่น เอาไว้คราวหน้าแล้วกัน หมอสั่งห้ามไว้ แพ้อาหารกลุ่มนี้ เดี๋ยวจะอ้วนหมอจะว่าเอา เป็นต้น

10. อธิบายให้ครอบครัว และเพื่อน ทราบถึงความจำเป็นในการลดน้ำหนัก และขอให้บุคคลต่างๆ ช่วยเหลือในการลดน้ำหนักให้ประสบผลสำเร็จ