[ใหม่] เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีกับระบบการผลิตแบบลีน(Lean Production System, LPS)

577 สัปดาห์ ที่แล้ว - นนทบุรี - คนดู 823
  • เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีกับระบบการผลิตแบบลีน(Lean Production System, LPS)  รูปที่ 1
รายละเอียด

แนวคิดการผลิตแบบลีน (Lean Production System, LPS)  จะให้ความสำคัญในการลดทรัพยากร รวมทั้งเวลาในกิจกรรมการผลิตในขั้นตอนต่าง ๆ การผลิตแบบลีน (Lean Production System, LPS)  นี้จะชี้ให้เห็นและทำการลดพฤติกรรมใดใดที่ไม่ได้ก่อให้เกิดคุณค่าในการผลิต (non value added activities) หรือความสูญเสีย (waste) กิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในการผลิต ในแนวคิดของการผลิตแบบดังกล่าวได้แก่

  1. การผลิตสินค้ามากเกินไป (overproduction)   การผลิตสินค้ามากเกินความต้องการจะก่อให้เกิดความสูญเสียในทุกกิจกรรมของการ ผลิต  รวมถึงเวลาที่ต้องจัดเก็บสินค้าเหล่านั้น
  2. การหยุดรอ  (waiting)  การที่จะต้องหยุดรอชิ้นส่วน หรืองานต่าง ๆ จากการกระบวนการผลิตในขั้นก่อนหน้า  จะทำให้เกิดความสูญเสียในด้านเวลาที่เสียไป
  3. การขนส่งหรือการเคลื่อนย้ายสินค้า (transport)  การที่ต้องเคลื่อนย้ายสินค้าโดยไม่จำเป็น  ทำให้เกิด ความสูญเสียในกิจกรรมดังกล่าว   
  4. กระบวนการทำงานที่ไม่เหมาะสม (inappropriate processing)  กระบวนการทำงานในลักษณะนี้จะเกิดจากขั้นตอนการทำงานที่มีความซับซ้อนเกิน ความจำเป็น  ซึ่งจะก่อให้เกิดความสูยเสีย   ทั้งในด้านการขนส่ง  และแรงงานที่ต้องทำงานในกระบวนการดังกล่าว
  5. สินค้าคงเหลือที่ไม่จำเป็น (unnecessary inventory)  ประกอบด้วยองค์ประกอบการผลิตที่ไม่ได้ใช้งาน  ซึ่งจะก่อให้เกิดความสูญเสีย ในหลายด้าน  ได้แก่  ต้นทุนในการจัดเก็บ คุณภาพของสินค้าที่เสียไปตามระยะเวลาในการจัดเก็บ
  6. กิจกรรมการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (unnecessary motion)   การที่คนทำงานจำเป็นตัองเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อทำกิจกรรมที่ไมจำเป็น
  7. สินค้ามีตำหนิ (defect) การผลิตสินค้าที่มีตำหนิมีผลโดยตรงต่อความสูญเสีย ในด้านต้นทุนการผลิต และต่อเนื่องไปถึงรายได้ที่จะได้รับ

จากแนวคิดข้างต้น  จะเห็นได้ว่า  กระบวนกการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีบาร์โค้ดในการจัดเก็บข้อมูลนั้น  จะก่อให้เกิดความสูญเสียได้ตามตารางด้านล่าง

ชนิดของความสูญเสีย

ลักษณะของความสูญเสีย

หน่วยนับของความสูญเสีย

การผลิตมากเกินไป (Over production)

เกิดข้อมูลที่ไม่ถูกต้องถูกบันทึกเข้าสู่ระบบ  ซึ่งกรณีนี้สามารถทำให้เกิดการผลิตมากเกินไป  เนื่องจากข้อมูลที่อยู่ในระบบ และปริมาณสินค้าที่มีอยู่จริงไม่ตรงกัน

 

ปริมาณสินค้าที่ผลิตเกิน

การหยุดรอ (Waiting)

การเก็บข้อมูลด้วยบาร์โค้ด  ซึ่งต้องอาศัยเจ้าหน้าที่มาทำการอ่านบาร์โค้ด  จะใช้เวลามากกว่าในการเก็บข้อมูล

เวลา

การเคลื่อนย้ายของ

สินค้า (Transport)

ในกรณีที่มีการอ่านบาร์โค้ดผิด อาจจะมีผลทำให้สินค้าดังกล่าวถูกเคลื่อนย้ายผิดสถานที่

เวลา

กระบวนการทำงานที่ไม่เหมาะสม (inappropriate processing)

กระบวนการทำงานที่ซับซ้อน ทำให้เสียเวลาในการทำงาน

เวลา

สินค้าคงเหลือที่ไม่จำเป็น (unnecessary inventory)

วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตจะลดน้อยลง 

ปริมาณสินค้าที่ผลิต

การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (unnecessary motion)

กระบวนการทำงานที่เจ้าหน้าที่ต้องคอยอ่านบาร์โค้ดเพื่อทำการบันทึกข้อมูล

เวลา

สินค้ามีตำหนิ (defects)

สินค้าที่ผลิตแล้วมีตำหนิ ไม่สามารถใช้งานได้  ทำให้เกิดความสูญเสียวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต

ปริมาณสินค้าที่เสียหาย

 

จากข้อจำกัดข้างต้นของเทคโนโลยีบาร์โค้ดที่ใช้ในการผลิตในปัจจุบัน  ทำให้เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีเข้ามีบทบาทในการลดความสูญเสีย  และช่วยให้ระบบการผลิตปัจจุบัน  สามารถปรับตัวเป็นระบบการผลิตแบบลีน  (Lean Production, LPS)

 


 

 

เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีคืออะไร

เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี ( RFID - Radio frequency identification) เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่ใช้ในการระบุสิ่งต่าง ๆ  โดยอาศัยคลื่นวิทยุ  ซึ่งต่างจากเทคโนโลยีอื่น ๆ  เช่น บาร์โค้ดที่อาศัยคลื่นแสง  หรือการสแกนลายนิ้วมือ  เป็นต้น   โดยคลื่นวิทยุที่ใช้ในเทคโนโลยีอาร์เอไอดีจะอยู่ในช่วงความถี่ระหว่าง 30 Hz และ 300 GHz  จากช่วงความถี่ดังกล่าวทำให้สามารถแบ่งคลื่นวิทยุได้เป็น 4 ประเภทได้แก่

  • Low Frequency (LF)   ในเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีจะใช้คลื่น 125 KHz ถึง 134 KHz
  • High Frequency (HF) ความถี่นี้จะอยู่ในช่วง  3 MHz ถึง 30 MHz  ความถี่  13.56 Mhz
  • Ultra High Frequency (UHF)  ความถี่นี้จะอยู่ในช่วง  300 MHz ถึง 1 GHz. 
  • Microwave Frequency  ความถี่นี้คือความถี่ที่สูงกว่า 1 GHz ขึ้นไป 

 

  • โครงสร้างหลักของระบบอาร์เอฟไอดี

ระบบอาร์เอฟไอดี  เป็นระบบที่ประกอบส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งสามารถที่จะสรุปได้ดังต่อไปนี้

  • RFID tag เป็นส่วนประกอบหลักของระบบอาร์เอฟไอดี  RFID  Tag เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูล  และส่งข้อมูลไปให้เครื่องอ่านโดยผ่านคลื่นวิทยุ  RFID Tag  สามารถแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้ 
  • RFID Tag  แบบ  Passive   RFID  Tag ชนิดนี้ไม่มีแหล่งพลังงานในตัวเอง  ในการส่งข้อมูลนั้น  RFID Tag  ประเภทนี้จะอาศัยพลังงานจากเครื่องอ่าน  เพื่อให้ตนเองมีพลังงานในการส่งข้อมูลกลับไปให้กับเครื่องอ่าน   
  • RFID Tag  แบบ Active   RFID Tag ชนิด Active จะมีแหล่งพลังงานหรือแบตตอรี่เป็นของตนเอง   โดยส่วนใหญ่  Active tag  จะมีอายุการทำงานประมาณ 2 ถีง  7 ปี ขึ้นอยู่กับประเภทของแบตตอรี่   ในการติดต่อกันระหว่าง  Tag  กับเครื่องอ่านสำหรับ  RFID Tag  ประเภทนี้  Tag  จะเป็นส่วนที่เริ่มการติดต่อก่อน  ประเภทนี้มีแหล่งพลังงานของตนเอง  ทำให้ส่งข้อมูลได้ในระยะไกล
  • RFID Tag  แบบ  Semi-active/Semi-passive   เป็น RFID Tag  ที่มีแหล่งพลังงานเป็นของตนเอง  ทำหน้าที่เหมือนบตตอรี่ใน Active tag  ในการส่งข้อมูลนั้น  RFID Tag  ประเภทนี้จะอาศัยพลังงานจากเครื่องอ่าน  แต่เมื่อแหล่งพลังงานหมด  Tag ประเภทนี้จะทำงานในลักษณะเหมือน Passive Tag ต่างจาก Active Tag ที่มีแหล่งพลังงานหมดจะไม่สามารถทำงานได้
  • เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี  เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านและเขียนข้อมูลลงไปใน  RFID Tag   ในการเขียนข้อมูลนั้นเป็นการเชื่อมโยง  RFID Tag  กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การสื่อสารกันระหว่างเครื่องอ่านกับ  RFID Tag นั้นขึ้นอยู่กับประเภทของ   Tag   ลักษณะการสื่อสารข้อมูลระหว่าง Tag  กับเครื่องอ่านมีสามลักษณะคือ  Modulated backscatter, Transmitter type และ Transponder type
  • Modulated Backscatter  การสื่อสารลักษณะนี้  เครื่องอ่านจะส่งคลื่นวิทยุในลักษณะต่อเนื่อง   (Continuous wave)  ซึ่งจะส่งออกมาในลักษณะกระแส  AC  ผ่านเสาอากาศที่อยู่ใน  RFID Tag  เมื่อ RFID Tag ได้รับกระแสจากเครื่องอ่าน  เสาอากาศก็จะส่งพลังงานให้กับไมโครชิปที่อยู่ใน  Tag   เพื่อให้  Tag  มีกำลังไฟในการทำงาน  เหลังจากนั้น RFID Tag ก็จะทำการส่งข้อมูลกลับไปให้แก่เครื่องอ่าน  เพื่อทำงานตอ่ไป
  • Transmitter  การสื่อสารลักษณะนี้จะใช้กับ  Active Tag  เท่านั้น  การสื่อสารในลักษณะนี้   Tag จะส่งข้อมูลเป็นช่วงเวลาที่กำหนดไว้  โดยไม่สนว่ามีเครื่องอ่านอยู่หรือไม่  ดังนั้นการสื่อสารแบบนี้   Tag  จะเป็นอุปกรณ์ที่เริ่มการสื่อสารก่อนเสมอ
  • Transponder  การสื่อสารแบบนี้แบบนี้   Tag จะไม่ทำงาน  หรืออยู่ใน  Sleep  เมื่อไม่มีการติดต่อสื่อสารกับเครื่องอ่าน   ในช่วงที่  Tag  อยู่ใน Sleep Mode   Tag  อาจจะส่งข้อมูลออกมาเป็นระยะเพื่อตรวจดูว่า มีเครื่องอ่านอยู่ในบริเวณดังกล่าวหรือไม่  เมื่อเครื่องอ่านได้รับสัญญาณดังกล่าว  เครื่องอ่านก็ส่งคำสั่งไปปลุก (wake up) ให้ Tag ทำงาน  เมื่อ  Tag ได้รับสัญญาณนี้จากเครื่องอ่าน  ก็จะเริ่มทำการส่งข้อมูล   ในการสื่อสารแบบนี้   Tag  ส่งข้อมูลเมื่อได้รับสัญญาณจากเครื่องอ่านเท่านั้น
  • เสาอากาศของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี  เครื่องอ่านติดต่อสื่อสารกับ  Tag โดยผ่านทางเสาอากาศของเครื่องอ่าน  ซึ่งอาจจะเป็นอุปกรณ์ที่แยกออกจากเครื่องอ่าน หรือเป็นลักษณะที่รวมเข้ากับเครื่องอ่านเป็นอุปกรณ์เดียวกัน  ขอบข่ายของเสาอากาศจะเป็นตัวกำหนดอาณาเขตการอ่าน   (Read Zone)  เมื่อ Tag เข้ามาอยู่ในบริเวณ Read Zone   กระบวนการ ติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องอ่านกับ Tag  ก็จะเริ่มทำงาน

 

  • ระบบซอฟท์แวร์  ในทางปฏิบัติแล้ว  ระบบอาร์เอฟไอดีแทบจะไร้ความหมาย ถ้าไม่มีระบบส่วนนี้ โดยระบบนี้จะนำผลการอ่านจากเครื่องอ่าน  ไปสู่การปฏิบัติ   โดยการนำข้อมูล Tag ที่อ่านได้  ไปสั่งงานในส่วนต่าง ๆ ของระบบ ได้แก่  การบันทึกข้อมูลโดยอัตโนมัติ  โดยไม่ต้องเจ้าหน้าที่มาคอยอ่าน Tag ทีละ Tag เป็นต้น


 

จุดเด่นของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี

เมื่อมีการกล่าวถึงเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี  ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะกล่าวถึงเทคโนโลยีบาร์โค้ด  ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ใช้ในการระบุสิ่งต่าง ๆ  แบบไร้สัมผัส  อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีมีจุดเด่นอยู่หลายประการ ดังต่อไปนี้

  • ความสามารถในการบันทึกข้อมูล (Writable)  ในปัจจุบัน  RFID Tag ที่สามารถบันทึกข้อมูลได้มากถึง  100,000  ครั้งหรือมากกว่า    และ Passive Tag  บางประเภทสามารถบันทึกข้อมูลได้มากถึง  4K bytes   ข้อมูลที่บันทึกในอาร์เอฟไอดี  Tag  สามารถที่จะบันทึกข้อมูลใหม่ลงไปได้  ในขณะที่แถบบาร์โค้ดไม่สามารถที่จะทำการปรับเปลี่ยนข้อมูลได้   ความสามารถนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่ง  เมื่อมีการใช้  Tag  ในกระบวนการผลิต  ตัวอย่างเช่น การนำอาร์เอฟไอดี Tag  มาใช้ในส่วนของสายงานผลิต  เมื่อสินค้าเคลื่อนย้ายไปทีละขั้นตอนการผลิต  ก็จะทำการบันทึกข้อมูลลงในอาร์เอฟไอดี  Tag  ได้  เพื่อที่จะทราบว่า  วัตถุหรือสินค้าดังกล่าวผ่านกระบวนการผลิตขั้นใดมาบ้าง  เมื่อสิ้นสุดกระบวนการผลิตสามารถที่จะนำ  Tag  ดังกล่าวมาวิเคราะห์ต่อไปได้ว่า  แต่ละขั้นตอนการผลิตใช้เวลามากน้อยเพียงใด  และขั้นตอนใดที่ใช้เวลามากเกินไป   หรือเป็นการยืนยันว่า  วัตถุดังกล่าวผ่านมาทุกกระบวนการผลิตหรือไม่
  • ความสามารถในการอ่านโดยไม่ต้องเห็น  Tag ความสามารถนี้เป็นจุดเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี  ซึ่งแตกต่างจากบาร์โค้ดอย่างชัดเจน  ที่จำเป็นต้องมองเห็นแถบบาร์โค้ดเท่านั้นทำให้สามารถส่งข้อมูลได้   แต่เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดีสามารถที่จะอ่าน   RFID Tag  ได้ถึงแม้ว่า   Tag  จะติดอยู่ภายในตัวสินค้า  (หากสินค้าไม่ประกอบด้วยวัสดุที่ดูดซับคลื่นวิทยุ)  ตัวอย่างเช่น  หาก  RFID Tag  อยู่ในกล่องกระดาษ  เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดีสามารถที่จะอ่านทะลุกล่องเข้าไปได้   ด้วยความสามารถนี้  ทำให้ การตรวจสอบสินค้าทำได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น  เนื่องจากไม่จำเป็นต้องเปิดกล่องสินค้า 
  • ความหลากหลายในระยะการอ่าน  เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีมีคลื่นความถี่อยู่หลายช่วง  และแต่ละช่วงความถี่ก็มีระยะการอ่านที่แตกต่างกัน  ตัวอย่างเช่น  คลื่นความถี่ต่ำ (LF) สามารถที่จะส่งข้อมูลได้ในระยะไม่กี่เซนติเมตร  ในขณะที่คลื่นความถี่สูง (HF) สามารถที่จะส่งข้อมูลได้ในระยะ 3 ฟุต  หากกล่าวถึงคลื่น UHF ระยะการอ่านก็ยิ่งไกลมากขึ้น  คือ สามารถที่จะส่งข้อมูลได้ไกลถึง 300 ฟุต  ยิ่งไปกว่านั้นหากกล่าวถึง  Active Tag ระยะการอ่านยิ่งไกลไปกว่านั้น  ระยะการอ่านที่เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดีสามารถที่จะอ่านข้อมูลจากอาร์เอฟไอดี  tag  ได้จะไกลกว่า เครื่องอ่านบาร์โค้ด  เนื่องจากเทคโนโลยีบาร์โค้ดนั้น จะอ่านข้อมูลโดยคลื่นแสง  ดังนั้นระยะการอ่านจึงจำกัดอยู่ในระยะที่คลื่นแสงไปถึง  ซึ่งโดยส่วนมากจะไม่เกิน  9 เมตร
  • ความสามารถในการอ่าน  RFID Tag ได้พร้อมกัน   จุดเด่นประการหนึ่งของอาร์เอฟไอดี  คือ  ความสามารถที่จะอ่าน  Tag  ได้มากกว่าหนึ่ง Tag  ในเวลาเดียวกัน  เมื่อมี  RFID Tag  มากกว่าหนึ่ง  Tag  เข้ามาอยู่ในบริเวณที่เครื่องอ่านอ่านข้อมูลได้  ตัวอย่างเช่น  ในการชำระเงินค่าซื้อสินค้าต่าง ๆ ในซุปเปอร์มาร์เก็ตไม่จำเป็นต้องอ่านบาร์โค้ดทีละรายการ  หากมีการนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีมาใช้  ซึ่งความสามารถนี้เรียกว่า  Anti-Collision ซึ่งความสามารถนี้บาร์โค้ดไม่สามารถที่จะทำได้
  • ความทนทาน  โดยปกติแล้ว  RFID Tag จะมีความทนทานต่อความชื้น  และความร้อนมากกว่าบาร์โค้ด  จึงมีการนำ  RFID Tag  มาใช้งานแทนบาร์โค้ดในงานบางส่วน  ตัวอย่างเช่น  การใช้ในห้องเย็น  เป็นต้น  นอกจากนั้น  Passive tag  บางประเภทยังสามารถที่จะทนต่อสารเคมี และอุณหภูมิสูงได้อีกด้วย  จากจุดเด่นที่กล่าวมาข้างต้น  ทำให้ Passive tag  สามารถทำงานได้หลากหลายมากขึ้น


 

ประโยชน์ของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีในการผลิตแบบลีน (Lean Production System LPS)

ประโยชน์ของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีเมื่อนำมาใช้เพื่อส่งเสริมการผลิตแบบลีน (Lean Production System, LPS)  สามารถแยกพิจารณาได้เป็นสามประเด็น ได้แก่

  • การเก็บข้อมูล (Data collection)  จากที่เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีสามารถอ่านข้อมูลโดยไม่ต้องอาศัยคนมาทำงานอ่าน เหมือนเทคโนโลยีบาร์โค้ด    ทำให้การเก็บข้อมูลในขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ สามารถที่เป็นการเก็บข้อมูลแบบอัตโนมัติได้  ซึ่งมีผลโดยตรงทำให้ลดการสูญเสีย (waste) ในการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (unnecessary motion)  เจ้าหน้าที่ไม่ต้องมาทำการอ่านแถบบาร์โค้ด  และทำการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบ  นอกจากนั้นยังช่วยในการลดการเคลื่อนย้ายของสินค้าที่ไม่จำเป็น (transport waste)  เจ้าหน้าที่ไม่ต้องยก (เคลื่อนย้าย) สินค้ามาทำการอ่านด้วยเครื่องอ่านบาร์โค้ด   เมื่อสินค้าหรือวัสดุ มาถึงจุดที่ติดตั้งเครื่องอ่าน  เครื่องอ่านจะทำการข้อมูลจาก RFID Tag ที่ติดมากับสินค้าอย่างอัตโนมัติ  โดยที่เจ้าหน้าที่ต้องมีการเคลื่อนไหวใดใด
  • การเชื่อมโยงของข้อมูล (Data Dependency)  หากการเชื่อมโยงของข้อมูลระหว่างสินค้า และข้อมูลการผลิตมีความผิดพลาด มีผลให้เกิดความสูญเสียได้หลายประการ  เช่น ความสูญเสียในการรอคอย (waiting) หากมีการอ่านบาร์โค้ดผิดพลาด  เจ้าหน้าที่อาจจะต้องเสียเวลาในการรอ  เพื่อทำการแก้ไขระบบ  หากมีการบันทึกข้อมูลที่ผิดพลาดเข้าสู่ระบบ  เช่น การอ่านบาร์โค้ดผิด  หรือการรายงานจำนวนสินค้าที่กำลังผลิต  แตกต่างไปจากความเป็นจริง  จะทำให้เกิดความสูญเสียในหลายด้าน  ได้แก่  ความสูญเสียในการเกิดสินค้าเสียหาย (defects) ความสูญเสียด้านการผลิตเกินจำนวน (overproduction) หรือความสูญเสียที่เกิดจากจำนวนสินค้าคงเหลือที่ไม่จำเป็น (unnecessary inventory) 

ในการวิเคราะห์ถึงความด้วยเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี จะมีส่วนช่วยในการลดความสูญเสียที่กล่าวมาได้  จากเดิมที่ใช้การเก็บข้อมูลแบบโดยอาศัยเจ้าหน้าที่จดลงในเอกสาร  แล้วนำมาบันทึกเข้าสู่ระบบส่วนกลางเพื่อประมวล  เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี จะมทำให้การเก็บข้อมูลทั้งระบบมีลักษณะอัตโนมัติ

  • ความสามารถที่จะได้รับข้อมูล (Data Visibility)  การได้รับข้อมูลที่ทันเวลาเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างมากในการตัดสินใจในการ ผลิต  หากได้รับข้อมูลไม่ทันเวลา  อาจจะทำให้ความสูญเสียในการผลิตได้สองประการ  คือ การผลิตสินค้ามากเกินไป  (overproduction) หรือการมีสินค้าคงเหลือที่ไม่จำเป็น (unnecessary inventory)  เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีสามารถที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้ของข้อมูลได้   ทำให้สามารถที่จะรับรู้ถึงข้อมูลได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น  โดยสามารถที่จะรับทราบสถานะของสินค้าที่ทำการผลิต  ได้ตั้งแต่ระดับล๊อตการผลิต จนถึงระดับสินค้าหลายชิ้น และสามารถที่จะติดตามสถานะได้ไปตลอดทุกขั้นตอนการผลิต  นอกจากนั้นระบบยังสามารถที่ให้ข้อมูลในทันทีทันใดได้  การให้ข้อมูในลักษณะนี้  ทำให้ผู้บริหารมีข้อมูลที่พร้อมในการตัดสินใจใดใด  เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียในสองลักษณะที่กล่าวมาข้างต้น

 


 

 

  • ความสามารถของการผลิตในการตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลง (Production Responsiveness Approach (PRA))  การตอบสนองของการผลิต (Production Responsiveness) คือ ความสามารถของระบบการผลิตที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ถูกแทรกแซงหรือรบกวน (Disturbances) 

การแทรกแซงหรือการรบกวน  คือการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกของระบบการผลิต  ที่มีผลกระทบต่อกระบวนการทำงาน  ซึ่งผลกระทบดังกล่าวอาจจะอยู่ภายใต้การควบคุม  หรือไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของแผนงานที่กำหนดไว้ก็ได้ ตัวอย่างของการแทรกแซงได้แก่  เครื่องจักรเสียหาย  เกิดคอขวดในการทำงาน วัตถุดิบไม่มาตามกำหนด  หรือวัตถุดิบไม่มีคุณภาพตามที่กำหนดไว้ เป็นต้น

เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีสามารถที่จะเพิ่มความสามารถของการผลิตในการตอบสนองต่อ การเปลี่ยนแปลงเมื่อถูกแทรกแซงจากปัจจัยต่าง ๆ นั้น  เนื่องจากเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีทำให้กระบวนการเก็บข้อมูลมีความเป็นอัตโนมัติ มากยิ่งขึ้น   ตัวอย่างเช่นการเกิดคอขวด ในการทำงาน  เนื่องจากเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีสามารถทำให้ข้อมูลในการผลิตมี Visibility เพิ่มมากขึ้น  ผู้บริหารสามารถที่จะรับทราบปริมาณงานในแต่ละขั้นตอนก่อนที่จะเกิดคอขวด (Bottle necks)  หรือในกรณีที่วัตถุดิบไม่มีคุณภาพที่กำหนด  ด้วยความสามารถของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีที่มีรหัสเฉพาะตน (unique ID) ส่วนนี้จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถที่จะทำการตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างง่ายยิ่ง ขึ้นว่า  วัตถุดิบที่ไม่มีคุณภาพเป็นส่วนผสมของสินค้าชิ้นใด

 


 

สรุป

เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีสามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแบบลีน (Lean Production System, LPS)   โดยประโยชน์ที่จะได้รับสามารถสรุปได้ตามตารางด้านล่าง

 


 

การบริหารสินค้าระหว่างการผลิต (WIP)

การบริหารสินค้าคงคลัง

การบำรุงรักษาเครื่องจักรในการผลิต

การควบคุมการผลิต

การผลิตมากเกินไป (Overproduction)

ทราบถึงปริมาณสินค้าที่อยู่ระหว่างการผลิตแต่ละขั้น

รับทราบถึงปริมาณสินค้า/วัตถุดิบคงคลัง

-

ส่งเสริมการบริหารการผลิตแบบ Just in Time

การรอคอย (Waiting)

ทราบว่าสินค้าสำเร็จรูปหรือวัตถุดิบอยู่ทีไหน

ทราบว่าสินค้าสำเร็จรูปหรือวัตถุดิบอยู่ทีไหน

ทราบว่าอุปกรณ์หรือเครื่องจักรอยู่ที่ใด และมีสภาพอย่างไร

เพิ่มความสามารถสินค้า หรือวัตถุดิบให้ตอบสนองต่อการผลิตได้มากยิ่งขึ้น

การขนส่ง (Transport)

ทราบว่าสินค้าที่อยู่ระหว่างการผลิตควรจะเคลื่อนย้ายไปที่ใด

ทราบว่าสินค้าที่ผลิตเสร็จที่ใกล้ที่สุดอยู่ที่ใด

ทราบว่าตำแหน่งของอุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่อยู่ใกล้ที่สุด

สามารถทำการปรับสายการผลิตได้อ้ตโนมัติ

กระบวนการทำงานที่ไม่เหมาะสม (Inappropriate processing)

ทราบว่าสินค้าหรือวัตถุดิบใดที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการทำงานขั้นใด

ทราบว่าวัตถุดิบใดที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการทำงานขั้นใด

ลดการผลิตที่ผิดพลาด จากการบำรุงรักษาเครื่องจักรที่ผิดพลาด

ทราบว่าสินค้าหรือวัตถุดิบใดที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการทำงานขั้นใด

การเก็บสินค้าคงคลังที่ไม่จำเป็น (Unnecessary inventory)

ลดข้อผิดพลาดในการจัดเก็บสินค้าระหว่างการผลิต

เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บสินค้าคงคลัง

 

เพิ่มประสิทธิภาพในการบำรุงรักษาเครื่องจักร

-

การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (Unnecessary motion)

ลดขั้นตอนการทำงานแบบ Manual

ลดการนับแบบ Manual

ลดการตรวจสอบเพื่อบำรุงรักษาแบบ Manual

-

เสียหาย (Defects)

ลดความเสียหาย เนื่องจากสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้

ทราบว่า  สินค้าหรือวัตถุดิบใดใกล้วัดหมดอายุ

-

-

 

แหล่งที่มา

Brintrup A, Roberts P, and Astle M. Report: Methodology for manufacturing process analysis for RFID implementation, BRIDGE Project, March 2008

Brintrup A, Roberts P, and Astle M. Definition of RFID Decision Support System for Manufacturing Applications, BRIDGE Project, June 2008

 

ผู้ที่สนใจติดต่อเป็นตัวแทนสามารถติดต่อได้ที่

บริษัท ไอเดนทิไฟ จำกัด

99/28 อาคารซอฟต์แวร์ ปาร์ค ชั้น 7

ถนนแจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด นนทบุรี 11120

Tel: 662-582-3714-5

Fax: 662-962-0816

Email: Info@id.co.th

Website: www.id.co.th 

Website: http://shop.id.co.th/