[ใหม่] ปุ๋ยมูลค้างคาว

636 สัปดาห์ ที่แล้ว - นนทบุรี - คนดู 292

540 ฿

  • ปุ๋ยมูลค้างคาว รูปที่ 1
  • ปุ๋ยมูลค้างคาว รูปที่ 2
  • ปุ๋ยมูลค้างคาว รูปที่ 3
รายละเอียด


ข้อดีของปุ๋ยมูลค้างคาว

1 มีปริมาณความเข้มข้นของธาตุอาหารพืชสูงกว่าปุ๋ยอินทรีย์ชนิดอื่น

 

2 ปุ๋ยมูลค้างคาวนอกจากจะให้ธาตุอาหารที่เพียงพอแล้ว ยังช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินด้วยทำให้ดินร่วน ดินซุย

 

3 ในมูลค้างคาวอุดมไปด้วย ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม เช่น แคลเซี่ยม แมกนีเซี่ยม กำมะถัน เหล็กแมงกานีส สังกะสี ทองแดง โบรอน และโมลิบดินัม คลอลีน ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการของพืชโดยทั่วไป

 

4 ในมูลค้างคาวมีธาตุอาหารฟอสฟอรัสมากเป็นพิเศษ จึงเหมาะสมกับการนำมาใช้ทั้งใน พืชผัก พืชสวน พืชไร่ และไม้ดอก ไม้ประดับ จะช่วยเพิ่มในเรื่องของ สีสัน รสชาติ และเพิ่มผลผลิตได้อย่างดี

ส่วนประกอบสำคัญในการผลิตปุ๋ย

 

1 วัตถุดิบมูลค้างคาว

มูลค้างคาวจำนวนมหาศาลที่บริษัทฯได้รับสัมปทานถ้ำค้างคาวนั้น สามารถนำมาผลิตปุ๋ยที่มีคุณภาพได้อย่างต่อเนื่องเพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งคุณสมบัติพิเศษของมูลค้างคาวเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่ามีประโยชน์ต่อพืชมากมาย อุดมไปด้วยธาตุอาหารครบตามที่พืชต้องการ และพืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างสมบูรณ์

 

2 สารอาหารนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น

เป็นวัตถุดิบชั้นเยี่ยมอีกชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าต่อการเจริญเติบโตของพืชเป็นอย่างมาก ซึ่งทางบริษัทฯได้นำมาเป็นส่วนผสมในการผลิตปุ๋ยด้วยเช่นกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเป็นเท่าทวีคูณ เพราะสารอาหารดังกล่าวมีธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม รวมทั้งฮิวมัส ฮิวมิค อะมิโน สารอาหารชนิดนี้เป็นเคมีธรรมชาติ ที่เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตอาหารของประเทศญี่ปุ่น รัฐบาลไม่ได้ตีค่าเป็นเคมี แต่ด้วยคุณค่านั้นเหนือกว่าเคมีนำเข้าโดยทั่วไป การปลดปล่อยต่างกัน ให้คุณค่าที่สูงกว่า พืชจึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ดีกว่า

 

3 จุลินทรีย์สายพันธุ์พิเศษนำเข้าจากประเทศอิสราเอล

เป็นอีกส่วนผสมหนึ่งที่ใช้ในกระบวนการผลิตปุ๋ยของทางบริษัทฯ จุลินทรีย์สายพันธุ์นี้ มีคุณสมบัติพิเศษหลายประการ สามารถทำลายเชื้อโรคซึ่งเป็นสาเหตุของรากเน่า โคนเน่า ในพืชทุกชนิด ช่วยพัฒนาระบบราก ปรับสภาพดินที่เสียให้ร่วนซุย ปรับค่า PH ของดินให้เหมาะสม

 

 

 

อัตราและวิธีการใช้

 

ชนิดพืช :    นาข้าว

ระยะที่ใช้ :  ระยะแรก 15 – 30 วัน    อัตราการใช้ :  40 – 80 กก.ต่อไร่    วิธีการใช้ :  หว่านทั่วแปลง

ระยะที่ใช้ :  ระยะแรก 50 – 60 วัน    อัตราการใช้ :  40 – 80 กก.ต่อไร่    วิธีการใช้ :  หว่านทั่วแปลง

 

 ชนิดพืช :    ข้าวโพด

ระยะที่ใช้ :  ระยะพร้อมปลูก    อัตราการใช้ :  50 – 100 กก.ต่อไร่    วิธีการใช้ :  โรยรองก้นหลุมพร้อมปลูก

ระยะที่ใช้ :  ระยะแรก 20 – 25 วัน    อัตราการใช้ :  30 – 40 กก.ต่อไร่    วิธีการใช้ :  โรยตามแนวข้าวโพด

 

 
 


ชนิดพืช :    ส้ม มะนาว มะม่วง เงาะ ทุเรียน มังคุด ลำไย ลิ้นจี่ ลองกอง ฝรั่ง ชมพู่ องุ่น ปาล์ม

ระยะที่ใช้ :  มีผลแล้ว    อัตราการใช้ :  3 – 5 กก.ต่อต้น /ครั้ง    วิธีการใช้ :  หว่านรอบทรงพุ่ม

ระยะที่ใช้ :  ยังไม่มีผล    อัตราการใช้ :  2 – 3 กก.ต่อต้น /ครั้ง    วิธีการใช้ :  หว่านรอบทรงพุ่ม

 

ชนิดพืช :    ยางพารา

ระยะที่ใช้ :  กรีดแล้วต้น , ปลายฝน    อัตราการใช้ :  1 – 2 กก.ต่อต้น /ครั้ง    วิธีการใช้ :  โรยขนานแถว

ระยะที่ใช้ :  ยางเล็ก ต้น, ปลายฝน     อัตราการใช้ :  0.5 กก.ต่อต้น /ครั้ง    วิธีการใช้ :  โรยขนานแถว

 

ชนิดพืช :    อ้อย มัน สับปะรด

ระยะที่ใช้ :  ใช้รองพื้นก่อนปลูก    อัตราการใช้ :  50 – 100 กก.ต่อไร่    วิธีการใช้ :  โรยในร่องแล้วกลบ

ระยะที่ใช้ :  พืชอายุ 1 – 2 เดือน    อัตราการใช้ :  50 – 100 กก.ต่อไร่    วิธีการใช้ :  โรยข้างแถว

 
 
 

 

ชนิดพืช :    พริก หอม กระเทียม แตง ถั่ว สตอเบอรี่

ระยะที่ใช้ :  ใช้รองพื้นระยะให้ผล    อัตราการใช้ :  50 – 100 กก.ต่อไร่    วิธีการใช้ :  หว่านทั่วแปลง

 

 
 

 

 

ชนิดพืช :    ผักทุกชนิด ยาสูบ

ระยะที่ใช้ :  ใช้รองพื้น    อัตราการใช้ :  50 – 100 กก.ต่อไร่    วิธีการใช้ :  หว่านทั่วแปลง

 

 

 

เทคนิคการเพิ่มผลผลิตในนาข้าว

 

เทคนิคการเพิ่มผลผลิตในนาข้าว 1,500 กก.ต่อไร่

 

* หลังจากเมื่อข้าวอายุ 25 – 30 วัน ( หว่านปุ๋ยรอบแรก ) หว่านปุ๋ยอินทรีย์เคมี 6 - 3 - 3  อัตรา 40 กก.ต่อไร่

ช่วยบำรุงต้น ขยายกอ ทำให้ต้นแข็ง ใบตั้ง ต้านทานโรคแมลง และเมื่ออายุข้าวประมาณ 35 – 40 วัน

* เมื่ออายุข้าวได้ 60 – 65 วัน ( หว่านปุ๋ยรอบสอง ) หว่านปุ๋ยอินทรีย์เคมี 6 - 3 - 3  อัตรา 40 กก.ต่อไร่

ช่วยบำรุงต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวสมบูรณ์ ในช่วงข้าวตั้งท้องอ่อนๆควรใช้

* ในช่วงข้าวเริ่มออกรวงประปลาย( หว่านรับรวง( หว่านปุ๋ยรอบสาม )) หว่านปุ๋ยอินทรีย์เคมี 6 - 3 - 3 อัตรา 20 กก.ต่อไร่

ช่วยบำรุงต้น สะสมอาหารสร้างรวง

 

สรุปการใช้ปุ๋ยและฮอร์โมนพืชในนาข้าว

หว่านปุ๋ยอินทรีย์เคมี 6 - 3 - 3 จำนวน 3 ครั้ง ดังนี้

ครั้งที่ 1  ช่วงข้าวอายุ 25 – 30 วัน อัตรา 40 กก.ต่อไร่

ครั้งที่ 2  ช่วงข้าวอายุ 60 – 65 วัน อัตรา 40 กก.ต่อไร่

ครั้งที่ 3  ช่วงข้าวเริ่มออกรวงประปลาย อัตรา 20 กก.ต่อไร่

 

สรุปผลจากการใช้ในนาข้าว

ราก ทำให้รากยาว ขาวอวบ พืชหาอาหารได้ดีกว่า ทำให้เจริญเติบดตได้ดี

แตกกอดี ช่วยเพิ่มการแตกกอ เพิ่มจำนวนต้น รวงที่มากขึ้น ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น

เขียว ข้าวเขียวทนเขียวนานกว่าใช้ปุ๋ยเคมี ข้าวเริ่มเขียวพร้อมกัน เขียวเสมอกัน

ต้นเขียวใบตั้ง ลำต้นแข็งแรง ข้าวไม่ล้ม ช่วยต้านทานโรคและแมลงได้ดี ช่วยลดค่ายาฆ่าแมลงลงได้

ข้าวรวงใหญ่ รวงยาว เมล็ดข้าวแกร่ง ไม่ลีบ น้ำหนักดี ข้าวสุกแก่พร้อมกัน ไม่โดนตัดราคา

ขั้วเหนียว ข้าวไม่หลุดร่วงง่าย ลดการสูญเสียผลผลิต ทำให้ได้ผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้น

ข้าวสุกก่อน เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ก่อน ช่วยลดต้นทุนค่าสูบน้ำเข้านา

ช่วยปราบหอยเชอรี่ได้ ช่วยลดต้นทุนค่ายาปราบหอย

ดินเป็นหล่ม สภาพดินดี มีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์ ปุ๋ยมูลค้างคาวสามารถปลดปล่อยธาตุอาหารได้ดีกว่าและนานกว่าปุ๋ยเคมี ทำให้ธาตุอาหารในดินมีมาก สังเกตจากใบธงเขียวยันวันเกี่ยว 
ช่วยปรับโครงสร้างดิน ฟื้นฟูสภาพดิน ทำให้ดินดีขึ้น

 

 

เทคนิคการเพิ่มผลผลิตในไม้ผล

 เทคนิคการเพิ่มผลผลิตในไม้ผล เช่น ส้ม ลิ้นจี่ ลำไย มะม่วง ทุเรียน เงาะ เป็นต้น

*ระยะยังไม่มีผล ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์เคมี 6 - 3 - 3 อัตรา 2 – 3 กก. /ต้น /ครั้ง  

ช่วยให้ต้นสมบูรณ์ โตไว ใบใหญ่ ใบหนา ใบมัน

*ระยะมีผลแล้ว ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์เคมี 6 - 3 - 3 อัตรา 3 – 4 กก. /ต้น /ครั้ง   ช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ของต้น ทำให้ใบใหญ่ ใบหนา ใบมัน ติดดอกดก ติดผลดก ผลใหญ่ รสชาติดี น้ำหนักดี สีสวยสีเข้ม

 

 
 
 

 

 

เทคนิคการเพิ่มผลผลิตในยางพารา 

*ในยางเล็กก่อนเปิดกรีด ( ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 ช่วงต้นฝน ) ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์เคมี 6 - 3 - 3 อัตรา 0.5 กก. /ต้น /ครั้ง 

ช่วยเร่งต้น ทำให้ยางโตไว ใบใหญ่ ใบหนา ใบมัน ต้นยางสมบูรณ์มาก แทงฉัตร 60 – 80 ต่อฉัตร

*ในยางเล็กก่อนเปิดกรีด ( ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ช่วงปลายฝน ) ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์เคมี 6 - 3 - 3 อัตรา 0.5 กก. /ต้น /ครั้ง 

ช่วยเร่งต้น ทำให้ยางโตไว ใบใหญ่ ใบหนา ใบมัน ต้นยางสมบูรณ์มาก แทงฉัตร 60 – 80 ต่อฉัตร

 *ในยางเปิดกรีด ( ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 ช่วงต้นฝน ) ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์เคมี 6 - 3 – 3 อัตรา 1 กก./ต้น/ครั้ง 

ช่วยป้องกันโรครากเน่า โคนเน่า ป้องกันยางหน้าตาย ช่วยขยายท่อน้ำยาง

ทำให้เปลือกยางนิ่ม กรีดง่าย ปริมาณน้ำยางเพิ่มขึ้น เปอร์เซ็นน้ำยางสูง

*ในยางเปิดกรีด ( ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ปลายฝน ) ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์เคมี 6 - 3 – 3 อัตรา 1 กก./ต้น/ครั้ง 

ช่วยป้องกันโรครากเน่า โคนเน่า ป้องกันยางหน้าตาย ช่วยขยายท่อน้ำยาง

ทำให้เปลือกยางนิ่ม กรีดง่าย ปริมาณน้ำยางเพิ่มขึ้น เปอร์เซ็นน้ำยางสูง

 

 

 

 

* สินค้าตัวนี้คิดค่าจัดส่งตามน้ำหนักและระยะทาง ถ้าสั่งครั้งละ 16 ตัน บริษัทจะจัดส่งให้ฟรี *