[มือสอง] เหรียญหลวงปู่เผือก วัดสาลีโข รุ่น2 ปี 14 พิมพ์เล็ก บล็อกนิยม(มือจุด)เลี่ยมเงิน
552 สัปดาห์ ที่แล้ว
- นครปฐม - คนดู 1,465
รายละเอียด
ประวัติหลวงปู่เผือก วัดสาลีโขภิตาราม นนทบุรี
ท่านเกิด ปี 2299 มรณภาพปี 2405 พระเถระห้าแผ่นดินเล่าสืบต่อกันมาว่า หลวงปู่เผือกเป็น พระเถระผู้มักน้อย นิยมสันโดษ และยินดีเจริญสมณธรรม อยู่ในเสนาสนะอันสงบ สงัดตามป่าเขา ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยได้บรรลุผลตามสมควร พร้อมทั้งเป็นผู้คงแก่เรียนในพุทธศาสตร์วิทยาคมชั้นสูง รอบรู้ตำรับพิชัยสงคราม และศาสตร์อื่นๆ อีกนานาประการ วัดสาลีโขในยุคแรกที่หลวงปู่เผือกปกครองวัด เป็นยุคที่เจริญที่สุด มีพระภิกษุสามเณร และลูกศิษย์ลูกหามากมาย กิตติศัพท์ของหลวงปู่เผือกก็เป็นที่กล่าวขวัญกันมากขึ้น มีชาวบ้านมาผากตัวเป็นลูกศิษย์กันมาก ส่วนมากก็จะมาขอเครื่องรางของขลัง บ้างก็มาขอให้หลวงปู่เผือกลงกระหม่อม จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงทราบในเกียรติคุณ จึงทรงพระราชทานสมณศักดิ์แก่หลวงปู่เผือกเป็น พรครูธรรมโกศล ในปี 2399
ในด้านวัตถุมงคลทั้งหมดจัดสร้างโดยหลวงพ่อสมภพ วัดสาลีโข ที่ถูกหลวงปู่เผือกในสภาวะวิญญาณ โดยการประทับร่างทรงหลวงปู่เผือกปลุกเสก(เหมือนพระอาจารย์ทิม วัดช้างไห้) โดยเหรียญรุ่นแรกปลุกเสกอยู่ 3 ปี และนำออกแจก ปี 2510 (ปัจจุบันราคาหลักหมื่นกว่าๆ) เหรียญนี้สร้างประสบการณ์มากมายทั้ง มหาอำนาจ เมตตามหานิยม แคล้วคลาด อยู่ยงคงกระพัน เป็นเหรียญดังของจังหวัดนนทบุรี
โดยหลวงพ่อสมภพเล่าว่า คาถานี้ใช้ในการปลุกเสกวัตถุมงคลรุ่นต่างๆมาโดยตลอด และพิธีก็เหมือนกันไปแต่ละรุ่น ยันต์จะคล้ายๆกันไป และท่านก็บอกว่า ” วัตถุมงคลของหลวงปู่เผือกดีทุกรุ่นเก็บไว้เถอะ ”
หลวงปู่เผือก วัดสาลีโข จังหวัดนนทบุรี และวัตถุ มงคลต่างๆ หลวงปู่เผือก (พระครูธรรมโกศล) วัดสาลีโขภิตาราม อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เป็นชาวเมืองพระนครศรีอยุธยา มิได้ปรากฏหลักฐานว่าบิดามารดาของท่านมีชื่อเสียง เรียงนามว่ากระไร และตั้งบ้านเรือนอยู่ในตำบลไหน ทราบแต่ว่า ตอนที่ หลวงปู่เกิดท่านเป็นเด็กผิวขาวจัดจนผิดปกติกว่าเด็กทั่วไป บิดามารดาจึงตั้งชื่อตามนิมิตว่า "เผือก"เพื่อให้ตรงกับผิวพรรณของท่าน
พออายุ ๑๓ ขวบ เด็กชายเผือก ได้บรรพชาเป็น สามเณร ณ วัดใกล้บ้าน เริ่มศึกษา อักขรสมัยในสำนักวัดนั้นจนแตกฉานพอสมควร ก็สนใจศึกษาคาถา เวทมนตร์ต่างๆ ต่อมาได้เข้ามาศึกษาในสำนักวัดป่าแก้ว ซึ่งเป็นสำนักที่มีชื่อ ที่สุดในยุคนั้น ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดใกล้ๆ บ้านเกิด ได้ศึกษาอักขระสมัยและเวทมนต์คาถา ตามประเพณีนิยมจนแตกฉาน จากนั้นก็ได้ไปศึกษาต่อที่ วัดป่าแก้ว ซึ่งเป็นสำนักพุทธาคมและไสยศาสตร์อันขึ้นชื่อของกรุงศรีอยุธยา ซึ่งสำนักวัดป่าแก้วนี้ก็เป็นที่พำนักของสมเด็จพระพนรัต ผู้เป็นพระอาจารย์ใน สมเด็จพระนเรศวรมหาราชสำนักนี้เป็นสำนักที่รวบรวมสรรพวิชาทางพทธาคมและไสยศาสตร์เอาไว้มากมายหลายแขนงวิชาแต่เป็นที่น่าเสียดายว่าตำราเหล่านี้ได้มีการพลัดกระจายไปหลายแห่งเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2310
มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า หลวงปู่เผือกเป็นพระเถระผู้มักน้อย นิยมสันโดษ และยินดีเจริญสมณธรรมอยู่ในเสนาสนะอันสงบ สงัดตามป่าเขา ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยได้บรรลุผลตามสมควรพร้อมทั้งเป็นผู้คงแก่เรียนในพุทธศาสตร์วิทยาคมชั้นสูง รอบรู้ตำรับพิชัยสงคราม และศาสตร์อื่นๆอีกนานาประการ ชอบออกปฏิบัติธุดงควัตรเป็นนิจมิได้ขาด
เมื่อมีอายุครบ 20 ปี หลวงปู่เผือกก็อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่ วัดป่าแก้ว นั้นเองและได้ศึกษาทั้งวิปัสสนากรรมฐานกับวิทยาคมมาโดยตลอดเมื่อถึงเวลาออกพรรษาท่านก็จะออกเดินธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรเป็นประจำทุกปี แม้วัยของหลวงปู่เผือกตอนนั้นจะยังหนุ่มๆอยู่แต่ก็มีความศักด์สิทธิ์เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านแล้วเหมือนกันต่อมาเมื่อครั้งที่พม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาและก่อนที่กรุงจะแตกนั้น ได้เกิดอาเพศขึ้นหลายอย่างอันเป็นลางบอกเหตุร้ายของแผ่นดิน โดยเฉพาะที่วัดป่าแก้วได้ปรากฏมีอีกาตัวหนึ่งบินมาปะทะยอดนพศูลพระเจดีย์องค์ใหญ่ภายในวัด แล้วถูกเหล็กแหลมบนยอดนพศูลเสียบตายอยู่บนยอดนั้นหลวงปู่เผือกเห็นเป็นนิมิตร้ายจึงซักชวนลูกศิษย์ลูกหาและชาวบ้านที่นับถือศรัทธาอพยพหนีภัยข้าศึกลงมาทางใต้ของกรุงศรีอยุธยาครั้งนั้นได้มีลูกศิษย์และชาวบ้านอพยพมากับหลวงปู่เผือกหลายสิบครอบครัว ระหว่างทางก็ยังมีชาวบ้านร่วมอพยพสมทบอีกก็หลายครอบครัว เนื่องจากชาวบ้านร่วมเดินทางมาเป็นจำนวนมาก และต้องคอยหลบหลีกกองทัพพม่าระหว่างทางด้วยหลวงปู่เผือกจึงได้สร้างเครื่องรางของขลังตลอดจนลงอักขระบนผิดหนังให้แก่ชาวบ้านเหล่านั้น เพื่อเป็นสิ่งบำรุงขวัญกำลังใจและคุ้มครอบป้องกันอันตรายและได้ปลุกเสกใบไม้ให้นำไปติดหรือเหน็บไว้ตามเกวียนและข้าวของต่างๆ ในขบวนอพยพ เพื่อเป็นเครื่องกำบังตาจากทหารพม่า ระหว่างทางหากว่าชาวบ้านในขบวนอพยพเกิดเจ็บไข้ได้ป่วย หลวงปู่เผือกก็จะเสกน้ำมนต์ให้ดื่มและใช้คาถาอาคมรักษา
ขบวนอพยพที่มีหลวงปู่เผือก ซึ่งขณะนั้นยังเป็นพระอาจารย์หนุ่มเป็นผู้นำได้เดินทางโดยยึดเอาฟากตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นหลักระหว่างทางได้สวนกับกองทัพพม่าเป็นบางครั้ง แต่ทหารพม่ากลับมองเห็นขบวนอพยพเป็นดงไม้ขนาดใหญ่จึงไม่สนใจ ขบวนอพยพจึงเดินทางลงใต้มาเรื่อยๆ จนถึงทุ่งสามโคก เมืองปทุมธานี ก็พอดีมีขบวนชาวบ้านที่อพยพมาที่หลังได้ตามมาทันที่นี้พอดี และบอกว่าตอนนี้กรุงศรีอยุธยาได้เสียแก่ทหารพม่าแล้ว หลวงปู่เผือก จึงเร่งขบวนอพยพให้รีบเดินทางลงใต้ โดยมีจุดหมายอยู่ที่เมืองธนบุรี แต่พอมาถึงบริเวณ บางพลับ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ในปัจจุบัน ก็ได้พบชาวบ้านจากเมืองธนบุรีอพยพสวนทางขึ้นมา แล้วแจ้งข่าวว่าเมืองธนบุรีก็ถูกทหารพม่าตีแตกแล้วและจะพากันขึ้นไปพึ่งกรุงศรีอยุธยาหลวงปู่เผือกจึงบอกว่ากรุงศรีอยุธยาก็ถูกทหารพม่าตีแตกแล้วเหมือนกันขบวนชาวบ้านที่อพยพจากกรุงศรีอยุธยาและจากเมืองธนบุรีจึงต้องชะงักอยู่ที่ตรงนั้นซึ่งนับแล้วก็มีเป็นพันๆ คน บังเอิญหลวงปู่เผือก นึกขึ้นมาได้ว่าที่ตรงแนวโค้งเบื้องหน้าแม่น้ำเจ้าพระยาตรงข้ามกับเกาะเกร็ด มีทุ่งนาข้าวสาลีขึ้นเต็ม เจ้าของที่นาเป็นผู้หญิงสองคนพีน้องชื่อ บุญมี กับ บุญมา ได้เคยถวายที่ตรงนี้แก่หลวงปู่เผือกเมื่อครั้งที่ท่านเดินธุดงค์ผ่านมาที่ตรงนี้และครั้งนั้นหลวงปู่เผือกก็ได้สร้างเป็นสำนักสงฆ์เล็กๆขึ้นเพื่อให้พระสงฆ์ได้พำนักและจำพรรษาที่ทุ่งข้าวสาลีแห่งนั้นด้วย
เมื่อนึกขึ้นได้หลวงปู่เผือกก็นำชาวบ้านในขบวนอพยพเหล่านั้นมาพักหลบซ่อนตัวจากทหารพม่าที่ทุ่งข้าวสาลีแห่งนั้นและได้ประกอบพิธีบูชาพระรัตนตรัยและบวงสรวงเทพยดาที่สำนักสงฆ์ เพื่อขอความเป็นสิริมงคล และปราศจากภัยอันตรายต่างๆทั้งปวงหลวงปู่เผือกและชาวบ้านจึงพำนักที่ทุ่งข้าวสาลีนั้นมาตลอดระหว่างที่บ้านเมืองยังอยู่ในสภาวการณ์ของสงคราม ต่อมาเมื่อ สมเด็จพระเจ้าตามสินมหาราช ทรงกอบกู้เอกราชของบ้านเมืองแล้วปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ขึ้นครอบราชย์ และปราบชุมนุมต่างๆ จนราบคาบจนบ้านเมืองเริ่มเข้าสู่ปกติสุขหลวงปู่เผือกจึงให้สร้างวัดขึ้นที่ทุ่งข้าวสาลีแห่งนั้นขึ้น และตั้งชื่อวัดว่า วัดสาลีโขโดยถือเอาสถานที่ตั้งของวัดเป็นนิมิตหมายมงคลซึ่งหมายถึง วัดที่มีข้าวสาลีขึ้นเต็มท้องทุ่งส่วนชาวบ้านที่อพยพมาหลบภัยกับหลวงปู่เผือกนับเป็นพันๆ คนนั้น เมื่อเห็นว่าบ้านเมืองกลับเข้าสู่ปกติดีแล้ว ต่างก็พากันกราบลาหลวงปู่เผือกกลับสู่ภูมิลำเนาเดิม
แต่ชาวบ้านบางส่วนก็ตั้งรกรากอยู่ที่บริเวณทุ่งข้าวสาลีแห่งนั้นต่อไป
ครั้งเมื่อเข้าสู่ สมัยรัตนโกสินทร์ กิตติศัพท์ของหลวงปู่เผือกก็เป็นที่กล่าวขวัญกันมากขึ้นมีชาวบ้านมาผากตัวเป็นลูกศิษย์กันมาก ส่วนมากก็จะมาขอเครื่องรางของขลังบ้างก็มาขอให้หลวงปู่เผือกลงกระหม่อม หรือสักยันต์บนลำตัวให้ ส่วนกิจการทางพระศาสนาหลวงปู่เผือกก็ทำนุบำรุงเป็นอย่างดี จนเมื่อ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงทราบในเกียรติคุณจึงทรงพระราชทานสมณศักดิ์แก่หลวงปู่เผือกเป็น พรครูธรรมโกศล ในปี 2399 และมอบตราประจำตัวหลวงปู่เผือก คือตราสัญจกร ตำแหน่งของหลวงปู่เผือก ทำหน้าที่เป็น สังฆปาโมกข์ คือเป็นพระครูหัวหน้าสงฆ์ซึ่งตอนนั้นหลวงปู่เผือกมีอายุเกือบๆ จะหนึ่งร้อยปีแล้ว แต่ร่างกายของท่านยังแข็งแรงและคล่องแคล่วดีอยู่
ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมอบหมายให้หลวงปู่เผือกเป็น สังฆปาโมกข์สระบุรีและเป็นแม่งานคุมงานนมัสการพระพุทธบาทสระบุรีเป็นประจำทุกปี
พร้อมก็ได้ทรงถวายเรือหลวงและฝีพายพร้อมสำหรับหลวงปู่เผือกออกตรวจการคณะสงฆ์ในแต่ละครั้งหลวงปู่เผือกได้ปฏิบัติสาสนกิจอย่างขันแข็งมาโดยตลอดเป็นที่นับถือศรัทธาของชาวบ้านกันกว้างขวางหลายหัวเมือง จนกระทั่งมรณภาพอย่างสงบในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ด้วยโรคชราขณะมีอายุได้ 106 ปี
แม้ว่าหลวงปู่เผือกจะได้มรณภาพไปนานร้อยกว่าปีแล้วแต่บารมีความศักดิ์สิทธิ์ของท่านก็ยังคงปกป้อมคุ้มกรองลูกศิษย์ลูกหาและชาวบ้านที่ศรัทธามาจนตราบเท่าทุกวันนี้
วัดสาลีโขในยุคแรกที่หลวงปู่เผือกปกครองวัด เป็นยุคที่เจริญที่สุด มีพระภิกษุสามเณร
และลูกศิษย์ลูกหามากมาย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรง สนพระทัยในวัดสาลีโขมากถึงกับทรงปรารภกับหลวงปู่ว่าอยากจะเปลี่ยนนาม ของวัดนี้เสียใหม่ให้มีความหมายในทางธรรมให้ตรงกับปฏิปทาของท่าน พระครูธรรมโกศลที่สุด โดยรักษาเสียงของนามเดิมไว้ ถึงกับทรงมีพระราชดำริ ให้ใช้ชื่อว่า "วัดสัลเลโข"ทหมายถึงวัดที่ปฏิบัติเพื่อการ "ขัดเกลา" หรือ "กล่อมเกลากิเลสทั้งปวง" แต่ได้ทราบว่าหลวงปู่ท่านกราบทูลแย้งว่า "ของเก่าเขาดีแล้ว" เรื่องนี้ก็จึง เป็นอันพับไปคงใช้เป็นชื่อวัดสาลีโขสืบมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้
สำหรับ เหรียญหลวงปู่เผือก ที่ปรากฏ ภาพให้ศึกษานั้น เป็นเหรียญรุ่นแรก ที่จัดสร้างขึ้นโดย หลวงพ่อสมภพเตชปุญโญ พระลูกวัดสาลีโข ด้วยประสบการณ์ อันมากมาย ทำให้เหรียญนี้โด่งดังมาก นักสะสมเหรียญรุ่นเก่าๆจะรู้จักกันดี และเช่าหากันในราคาแพง หลวงพ่อสาลีโข ชื่อแท้ท่านคือ หลวงพ่อสมภพ เตชปุญโญอดีตพระลูกวัดสาลีโขภิตาราม ที่ถูกหลวงปู่เผือกในสภาวะวิญญาณ ซึ่งทรงอานุภาพดวงหนึ่ง เปลี่ยนชะตาชีวิต หน้ามือเป็นหลังมือในคืนวันขึ้น 15 ค่ำ ของปี พ.ศ.2502 ขณะที่ ท่านบวชได้เพียงพรรษาเดียว
ดวงวิญญาณที่ไร้รูปแต่เต็มปรี่ด้วยทิพยอำนาจอันยากหยั่งถึงได้พร่ำสอนถ่ายทอดความรู้นานาให้พระสมภพโดยไม่รู้เหน็ดเหนื่อย นับแต่เรื่องเล็กน้อย เช่นคาถาอาคมจนถึงเรื่องใจ คือ สมาธิ และยังบรรจุพระเวทย์สารพัดประดามีให้พระสมภพหมดสิ้นกระทั่งพาพระหนุ่มผู้อ่อนโลกออกธุดงค์ในป่าลึกเพื่อฝึกฝนจิตตานุภาพ เพื่อทบทวนวิชาที่ให้ไป และเพื่อทดสอบอำนาจจิตอภิญญาของพระสมภพ ก้อเก่งกล้าสามารถผ่านทุกขั้นตอน จากไปหลายปี กลับมาอีกทีก็มิใช่พระสมภพองค์เดิม หากเป็นพระอาจารย์สมภพที่เพียบพร้อมด้วยคุณลักษณะแห่ง “คุรุ”ทางไสยเวทย์ความแตกฉาน และอภินิหารของพระอาจารย์สมภพ เป็นสิ่งที่ผู้ไปพบจะทราบดีหาคนเก่งอย่างนี้ได้ยากนัก (ขอบคุณข้อมูลดีๆจากgoogel)
......เหรียญหลวงปู่เผือก วัดสาลีโข จ.นนทบุรี รุ่น2 ปี พ.ศ 2514
เหรียญนี้เนื้อทองแดง สภาพพอสวย เลี่ยมเงินกันน้ำยกซุ้มอย่างดี มีประสบการณ์สูงไม่แพ้รุ่นแรกครับ...
ท่านเกิด ปี 2299 มรณภาพปี 2405 พระเถระห้าแผ่นดินเล่าสืบต่อกันมาว่า หลวงปู่เผือกเป็น พระเถระผู้มักน้อย นิยมสันโดษ และยินดีเจริญสมณธรรม อยู่ในเสนาสนะอันสงบ สงัดตามป่าเขา ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยได้บรรลุผลตามสมควร พร้อมทั้งเป็นผู้คงแก่เรียนในพุทธศาสตร์วิทยาคมชั้นสูง รอบรู้ตำรับพิชัยสงคราม และศาสตร์อื่นๆ อีกนานาประการ วัดสาลีโขในยุคแรกที่หลวงปู่เผือกปกครองวัด เป็นยุคที่เจริญที่สุด มีพระภิกษุสามเณร และลูกศิษย์ลูกหามากมาย กิตติศัพท์ของหลวงปู่เผือกก็เป็นที่กล่าวขวัญกันมากขึ้น มีชาวบ้านมาผากตัวเป็นลูกศิษย์กันมาก ส่วนมากก็จะมาขอเครื่องรางของขลัง บ้างก็มาขอให้หลวงปู่เผือกลงกระหม่อม จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงทราบในเกียรติคุณ จึงทรงพระราชทานสมณศักดิ์แก่หลวงปู่เผือกเป็น พรครูธรรมโกศล ในปี 2399
ในด้านวัตถุมงคลทั้งหมดจัดสร้างโดยหลวงพ่อสมภพ วัดสาลีโข ที่ถูกหลวงปู่เผือกในสภาวะวิญญาณ โดยการประทับร่างทรงหลวงปู่เผือกปลุกเสก(เหมือนพระอาจารย์ทิม วัดช้างไห้) โดยเหรียญรุ่นแรกปลุกเสกอยู่ 3 ปี และนำออกแจก ปี 2510 (ปัจจุบันราคาหลักหมื่นกว่าๆ) เหรียญนี้สร้างประสบการณ์มากมายทั้ง มหาอำนาจ เมตตามหานิยม แคล้วคลาด อยู่ยงคงกระพัน เป็นเหรียญดังของจังหวัดนนทบุรี
โดยหลวงพ่อสมภพเล่าว่า คาถานี้ใช้ในการปลุกเสกวัตถุมงคลรุ่นต่างๆมาโดยตลอด และพิธีก็เหมือนกันไปแต่ละรุ่น ยันต์จะคล้ายๆกันไป และท่านก็บอกว่า ” วัตถุมงคลของหลวงปู่เผือกดีทุกรุ่นเก็บไว้เถอะ ”
หลวงปู่เผือก วัดสาลีโข จังหวัดนนทบุรี และวัตถุ มงคลต่างๆ หลวงปู่เผือก (พระครูธรรมโกศล) วัดสาลีโขภิตาราม อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เป็นชาวเมืองพระนครศรีอยุธยา มิได้ปรากฏหลักฐานว่าบิดามารดาของท่านมีชื่อเสียง เรียงนามว่ากระไร และตั้งบ้านเรือนอยู่ในตำบลไหน ทราบแต่ว่า ตอนที่ หลวงปู่เกิดท่านเป็นเด็กผิวขาวจัดจนผิดปกติกว่าเด็กทั่วไป บิดามารดาจึงตั้งชื่อตามนิมิตว่า "เผือก"เพื่อให้ตรงกับผิวพรรณของท่าน
พออายุ ๑๓ ขวบ เด็กชายเผือก ได้บรรพชาเป็น สามเณร ณ วัดใกล้บ้าน เริ่มศึกษา อักขรสมัยในสำนักวัดนั้นจนแตกฉานพอสมควร ก็สนใจศึกษาคาถา เวทมนตร์ต่างๆ ต่อมาได้เข้ามาศึกษาในสำนักวัดป่าแก้ว ซึ่งเป็นสำนักที่มีชื่อ ที่สุดในยุคนั้น ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดใกล้ๆ บ้านเกิด ได้ศึกษาอักขระสมัยและเวทมนต์คาถา ตามประเพณีนิยมจนแตกฉาน จากนั้นก็ได้ไปศึกษาต่อที่ วัดป่าแก้ว ซึ่งเป็นสำนักพุทธาคมและไสยศาสตร์อันขึ้นชื่อของกรุงศรีอยุธยา ซึ่งสำนักวัดป่าแก้วนี้ก็เป็นที่พำนักของสมเด็จพระพนรัต ผู้เป็นพระอาจารย์ใน สมเด็จพระนเรศวรมหาราชสำนักนี้เป็นสำนักที่รวบรวมสรรพวิชาทางพทธาคมและไสยศาสตร์เอาไว้มากมายหลายแขนงวิชาแต่เป็นที่น่าเสียดายว่าตำราเหล่านี้ได้มีการพลัดกระจายไปหลายแห่งเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2310
มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า หลวงปู่เผือกเป็นพระเถระผู้มักน้อย นิยมสันโดษ และยินดีเจริญสมณธรรมอยู่ในเสนาสนะอันสงบ สงัดตามป่าเขา ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยได้บรรลุผลตามสมควรพร้อมทั้งเป็นผู้คงแก่เรียนในพุทธศาสตร์วิทยาคมชั้นสูง รอบรู้ตำรับพิชัยสงคราม และศาสตร์อื่นๆอีกนานาประการ ชอบออกปฏิบัติธุดงควัตรเป็นนิจมิได้ขาด
เมื่อมีอายุครบ 20 ปี หลวงปู่เผือกก็อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่ วัดป่าแก้ว นั้นเองและได้ศึกษาทั้งวิปัสสนากรรมฐานกับวิทยาคมมาโดยตลอดเมื่อถึงเวลาออกพรรษาท่านก็จะออกเดินธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรเป็นประจำทุกปี แม้วัยของหลวงปู่เผือกตอนนั้นจะยังหนุ่มๆอยู่แต่ก็มีความศักด์สิทธิ์เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านแล้วเหมือนกันต่อมาเมื่อครั้งที่พม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาและก่อนที่กรุงจะแตกนั้น ได้เกิดอาเพศขึ้นหลายอย่างอันเป็นลางบอกเหตุร้ายของแผ่นดิน โดยเฉพาะที่วัดป่าแก้วได้ปรากฏมีอีกาตัวหนึ่งบินมาปะทะยอดนพศูลพระเจดีย์องค์ใหญ่ภายในวัด แล้วถูกเหล็กแหลมบนยอดนพศูลเสียบตายอยู่บนยอดนั้นหลวงปู่เผือกเห็นเป็นนิมิตร้ายจึงซักชวนลูกศิษย์ลูกหาและชาวบ้านที่นับถือศรัทธาอพยพหนีภัยข้าศึกลงมาทางใต้ของกรุงศรีอยุธยาครั้งนั้นได้มีลูกศิษย์และชาวบ้านอพยพมากับหลวงปู่เผือกหลายสิบครอบครัว ระหว่างทางก็ยังมีชาวบ้านร่วมอพยพสมทบอีกก็หลายครอบครัว เนื่องจากชาวบ้านร่วมเดินทางมาเป็นจำนวนมาก และต้องคอยหลบหลีกกองทัพพม่าระหว่างทางด้วยหลวงปู่เผือกจึงได้สร้างเครื่องรางของขลังตลอดจนลงอักขระบนผิดหนังให้แก่ชาวบ้านเหล่านั้น เพื่อเป็นสิ่งบำรุงขวัญกำลังใจและคุ้มครอบป้องกันอันตรายและได้ปลุกเสกใบไม้ให้นำไปติดหรือเหน็บไว้ตามเกวียนและข้าวของต่างๆ ในขบวนอพยพ เพื่อเป็นเครื่องกำบังตาจากทหารพม่า ระหว่างทางหากว่าชาวบ้านในขบวนอพยพเกิดเจ็บไข้ได้ป่วย หลวงปู่เผือกก็จะเสกน้ำมนต์ให้ดื่มและใช้คาถาอาคมรักษา
ขบวนอพยพที่มีหลวงปู่เผือก ซึ่งขณะนั้นยังเป็นพระอาจารย์หนุ่มเป็นผู้นำได้เดินทางโดยยึดเอาฟากตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นหลักระหว่างทางได้สวนกับกองทัพพม่าเป็นบางครั้ง แต่ทหารพม่ากลับมองเห็นขบวนอพยพเป็นดงไม้ขนาดใหญ่จึงไม่สนใจ ขบวนอพยพจึงเดินทางลงใต้มาเรื่อยๆ จนถึงทุ่งสามโคก เมืองปทุมธานี ก็พอดีมีขบวนชาวบ้านที่อพยพมาที่หลังได้ตามมาทันที่นี้พอดี และบอกว่าตอนนี้กรุงศรีอยุธยาได้เสียแก่ทหารพม่าแล้ว หลวงปู่เผือก จึงเร่งขบวนอพยพให้รีบเดินทางลงใต้ โดยมีจุดหมายอยู่ที่เมืองธนบุรี แต่พอมาถึงบริเวณ บางพลับ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ในปัจจุบัน ก็ได้พบชาวบ้านจากเมืองธนบุรีอพยพสวนทางขึ้นมา แล้วแจ้งข่าวว่าเมืองธนบุรีก็ถูกทหารพม่าตีแตกแล้วและจะพากันขึ้นไปพึ่งกรุงศรีอยุธยาหลวงปู่เผือกจึงบอกว่ากรุงศรีอยุธยาก็ถูกทหารพม่าตีแตกแล้วเหมือนกันขบวนชาวบ้านที่อพยพจากกรุงศรีอยุธยาและจากเมืองธนบุรีจึงต้องชะงักอยู่ที่ตรงนั้นซึ่งนับแล้วก็มีเป็นพันๆ คน บังเอิญหลวงปู่เผือก นึกขึ้นมาได้ว่าที่ตรงแนวโค้งเบื้องหน้าแม่น้ำเจ้าพระยาตรงข้ามกับเกาะเกร็ด มีทุ่งนาข้าวสาลีขึ้นเต็ม เจ้าของที่นาเป็นผู้หญิงสองคนพีน้องชื่อ บุญมี กับ บุญมา ได้เคยถวายที่ตรงนี้แก่หลวงปู่เผือกเมื่อครั้งที่ท่านเดินธุดงค์ผ่านมาที่ตรงนี้และครั้งนั้นหลวงปู่เผือกก็ได้สร้างเป็นสำนักสงฆ์เล็กๆขึ้นเพื่อให้พระสงฆ์ได้พำนักและจำพรรษาที่ทุ่งข้าวสาลีแห่งนั้นด้วย
เมื่อนึกขึ้นได้หลวงปู่เผือกก็นำชาวบ้านในขบวนอพยพเหล่านั้นมาพักหลบซ่อนตัวจากทหารพม่าที่ทุ่งข้าวสาลีแห่งนั้นและได้ประกอบพิธีบูชาพระรัตนตรัยและบวงสรวงเทพยดาที่สำนักสงฆ์ เพื่อขอความเป็นสิริมงคล และปราศจากภัยอันตรายต่างๆทั้งปวงหลวงปู่เผือกและชาวบ้านจึงพำนักที่ทุ่งข้าวสาลีนั้นมาตลอดระหว่างที่บ้านเมืองยังอยู่ในสภาวการณ์ของสงคราม ต่อมาเมื่อ สมเด็จพระเจ้าตามสินมหาราช ทรงกอบกู้เอกราชของบ้านเมืองแล้วปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ขึ้นครอบราชย์ และปราบชุมนุมต่างๆ จนราบคาบจนบ้านเมืองเริ่มเข้าสู่ปกติสุขหลวงปู่เผือกจึงให้สร้างวัดขึ้นที่ทุ่งข้าวสาลีแห่งนั้นขึ้น และตั้งชื่อวัดว่า วัดสาลีโขโดยถือเอาสถานที่ตั้งของวัดเป็นนิมิตหมายมงคลซึ่งหมายถึง วัดที่มีข้าวสาลีขึ้นเต็มท้องทุ่งส่วนชาวบ้านที่อพยพมาหลบภัยกับหลวงปู่เผือกนับเป็นพันๆ คนนั้น เมื่อเห็นว่าบ้านเมืองกลับเข้าสู่ปกติดีแล้ว ต่างก็พากันกราบลาหลวงปู่เผือกกลับสู่ภูมิลำเนาเดิม
แต่ชาวบ้านบางส่วนก็ตั้งรกรากอยู่ที่บริเวณทุ่งข้าวสาลีแห่งนั้นต่อไป
ครั้งเมื่อเข้าสู่ สมัยรัตนโกสินทร์ กิตติศัพท์ของหลวงปู่เผือกก็เป็นที่กล่าวขวัญกันมากขึ้นมีชาวบ้านมาผากตัวเป็นลูกศิษย์กันมาก ส่วนมากก็จะมาขอเครื่องรางของขลังบ้างก็มาขอให้หลวงปู่เผือกลงกระหม่อม หรือสักยันต์บนลำตัวให้ ส่วนกิจการทางพระศาสนาหลวงปู่เผือกก็ทำนุบำรุงเป็นอย่างดี จนเมื่อ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงทราบในเกียรติคุณจึงทรงพระราชทานสมณศักดิ์แก่หลวงปู่เผือกเป็น พรครูธรรมโกศล ในปี 2399 และมอบตราประจำตัวหลวงปู่เผือก คือตราสัญจกร ตำแหน่งของหลวงปู่เผือก ทำหน้าที่เป็น สังฆปาโมกข์ คือเป็นพระครูหัวหน้าสงฆ์ซึ่งตอนนั้นหลวงปู่เผือกมีอายุเกือบๆ จะหนึ่งร้อยปีแล้ว แต่ร่างกายของท่านยังแข็งแรงและคล่องแคล่วดีอยู่
ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมอบหมายให้หลวงปู่เผือกเป็น สังฆปาโมกข์สระบุรีและเป็นแม่งานคุมงานนมัสการพระพุทธบาทสระบุรีเป็นประจำทุกปี
พร้อมก็ได้ทรงถวายเรือหลวงและฝีพายพร้อมสำหรับหลวงปู่เผือกออกตรวจการคณะสงฆ์ในแต่ละครั้งหลวงปู่เผือกได้ปฏิบัติสาสนกิจอย่างขันแข็งมาโดยตลอดเป็นที่นับถือศรัทธาของชาวบ้านกันกว้างขวางหลายหัวเมือง จนกระทั่งมรณภาพอย่างสงบในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ด้วยโรคชราขณะมีอายุได้ 106 ปี
แม้ว่าหลวงปู่เผือกจะได้มรณภาพไปนานร้อยกว่าปีแล้วแต่บารมีความศักดิ์สิทธิ์ของท่านก็ยังคงปกป้อมคุ้มกรองลูกศิษย์ลูกหาและชาวบ้านที่ศรัทธามาจนตราบเท่าทุกวันนี้
วัดสาลีโขในยุคแรกที่หลวงปู่เผือกปกครองวัด เป็นยุคที่เจริญที่สุด มีพระภิกษุสามเณร
และลูกศิษย์ลูกหามากมาย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรง สนพระทัยในวัดสาลีโขมากถึงกับทรงปรารภกับหลวงปู่ว่าอยากจะเปลี่ยนนาม ของวัดนี้เสียใหม่ให้มีความหมายในทางธรรมให้ตรงกับปฏิปทาของท่าน พระครูธรรมโกศลที่สุด โดยรักษาเสียงของนามเดิมไว้ ถึงกับทรงมีพระราชดำริ ให้ใช้ชื่อว่า "วัดสัลเลโข"ทหมายถึงวัดที่ปฏิบัติเพื่อการ "ขัดเกลา" หรือ "กล่อมเกลากิเลสทั้งปวง" แต่ได้ทราบว่าหลวงปู่ท่านกราบทูลแย้งว่า "ของเก่าเขาดีแล้ว" เรื่องนี้ก็จึง เป็นอันพับไปคงใช้เป็นชื่อวัดสาลีโขสืบมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้
สำหรับ เหรียญหลวงปู่เผือก ที่ปรากฏ ภาพให้ศึกษานั้น เป็นเหรียญรุ่นแรก ที่จัดสร้างขึ้นโดย หลวงพ่อสมภพเตชปุญโญ พระลูกวัดสาลีโข ด้วยประสบการณ์ อันมากมาย ทำให้เหรียญนี้โด่งดังมาก นักสะสมเหรียญรุ่นเก่าๆจะรู้จักกันดี และเช่าหากันในราคาแพง หลวงพ่อสาลีโข ชื่อแท้ท่านคือ หลวงพ่อสมภพ เตชปุญโญอดีตพระลูกวัดสาลีโขภิตาราม ที่ถูกหลวงปู่เผือกในสภาวะวิญญาณ ซึ่งทรงอานุภาพดวงหนึ่ง เปลี่ยนชะตาชีวิต หน้ามือเป็นหลังมือในคืนวันขึ้น 15 ค่ำ ของปี พ.ศ.2502 ขณะที่ ท่านบวชได้เพียงพรรษาเดียว
ดวงวิญญาณที่ไร้รูปแต่เต็มปรี่ด้วยทิพยอำนาจอันยากหยั่งถึงได้พร่ำสอนถ่ายทอดความรู้นานาให้พระสมภพโดยไม่รู้เหน็ดเหนื่อย นับแต่เรื่องเล็กน้อย เช่นคาถาอาคมจนถึงเรื่องใจ คือ สมาธิ และยังบรรจุพระเวทย์สารพัดประดามีให้พระสมภพหมดสิ้นกระทั่งพาพระหนุ่มผู้อ่อนโลกออกธุดงค์ในป่าลึกเพื่อฝึกฝนจิตตานุภาพ เพื่อทบทวนวิชาที่ให้ไป และเพื่อทดสอบอำนาจจิตอภิญญาของพระสมภพ ก้อเก่งกล้าสามารถผ่านทุกขั้นตอน จากไปหลายปี กลับมาอีกทีก็มิใช่พระสมภพองค์เดิม หากเป็นพระอาจารย์สมภพที่เพียบพร้อมด้วยคุณลักษณะแห่ง “คุรุ”ทางไสยเวทย์ความแตกฉาน และอภินิหารของพระอาจารย์สมภพ เป็นสิ่งที่ผู้ไปพบจะทราบดีหาคนเก่งอย่างนี้ได้ยากนัก (ขอบคุณข้อมูลดีๆจากgoogel)
......เหรียญหลวงปู่เผือก วัดสาลีโข จ.นนทบุรี รุ่น2 ปี พ.ศ 2514
เหรียญนี้เนื้อทองแดง สภาพพอสวย เลี่ยมเงินกันน้ำยกซุ้มอย่างดี มีประสบการณ์สูงไม่แพ้รุ่นแรกครับ...
..........................chathanumaan@yahoo.co.th..............