[ใหม่] จำหน่ายน้ำแร่ธรรมชาติ Cavallo Posu

462 สัปดาห์ ที่แล้ว - กรุงเทพมหานคร - คนดู 68

92 ฿

  • จำหน่ายน้ำแร่ธรรมชาติ Cavallo Posu รูปที่ 1
รายละเอียด

จำหน่ายน้ำแร่ธรรมชาติจากเขามัทรี Cavallo Posu ขนาด 600 ml.
ประกอบด้วยแร่ธาตุสำคัญถึง 6 ชนิด ได้แก่
- ไนเตรท
- คลอไรด์
- โซเดียม
- แคลเซียม
- แมกนีเซียม
- โพแทสเซียม
คุณประโยชน์ของแร่ธาตุ

แคลเซียม และฟอสฟอรัส (Calcium and phosphorus)
แคลเซียม และฟอสฟอรัส เป็นส่วนประกอบของสารแคลเซียมไฮดรอกซีแอพาไทด์ (calcium hydroxyapatite) ที่มีในกระดูก

• ควบคุมการทำงานของเซลล์ภายในอวัยวะต่างๆ

• ช่วยให้เลือดมีการแข็งตัวตามปกติ ถ้าร่างกายมีปริมาณแคลเซียมน้อย จะทำให้เลือดหยุดไหลช้า

• ช่วยในการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อ ถ้าระดับแคลเซียมลดลง จะทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการหดเกร็งขึ้น

• สำหรับเด็กที่กำลังอยู่ในวัยเจริญเติบโตมีความต้องการแคลเซียมมากกว่าคนในวัยอื่นๆ การขาดแคลนแคลเซียม ทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก และทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อนในเด็ก ซึ่งโรคนี้มักเกิดร่วมกับการขาดฟอสฟอรัสและวิตามินดี

• ช่วยปรับสมดุลสภาวะความเป็นกรด - เบส ในเลือด

• เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกรดนิวคลิอิก นิวคลิอิกโปรตีน ซึ่งมีบทบาทในการถ่ายทอดพันธุกรรม การแบ่งเซลล์ การสังเคราะห์โปรตีน และโคเอนไซม์ในปฏิกิริยาเคมีที่จำเป็นในร่างกาย

ความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ปริมาณวิตามินดี และน้ำตาลแล็กโทส มีส่วนช่วยในการดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้เล็ก แต่หากร่างกายมีปริมาณฟอสเฟต แคลเซียม ไฟเทต และออกซาเลตในปริมาณมาก จะทำให้ลดการดูดซึมแคลเซียม โดยเฉพาะไฟเทตที่มีมากในผักบางชนิด ที่สามารถจับกับแคลเซียม ทำให้เกิดเกลือของแคลเซียมที่ไม่ละลายน้ำ และร่างกายก็ไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมได้

แหล่งอาหารที่พบแคลเซียม ได้แก่ น้ำนม เนย ถั่ว ไข่ ผัก และผลไม้

ปริมาณที่แนะนำต่อวัน : แคลเซียม 800 - 1,000 มิลลิกรัม

ผลของการได้รับแคลเซียมมากเกินไป : แคลเซียมจะไปขัดขวางการดูดซึมแร่ธาตุอื่นๆ
เช่น เหล็ก แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ส่งผลให้ร่างกายขาดแร่ธาตุเหล่านั้น เป็นต้น


แหล่งอาหารที่พบฟอสฟอรัส ได้แก่ อาหารที่มีโปรตีนสูง โดยเฉพาะในเนื้อสัตว์
ปริมาณที่แนะนำต่อวัน : ฟอสฟอรัส 700 – 1,000 มิลลิกรัม

ผลของการได้รับฟอสฟอรัสมากเกินไป : เกิดอาการคันตามผิวหนัง หลอดเลือดแดงแข็ง
เนื่องจากการตกตะกอนของฟอสฟอรัส จนหลอดเลือดเกิดการอุดตัน เป็นต้น
โซเดียม และโพแทสเซียม (Sodium and potassium)

ทั้งโซเดียม และโพแทสเซียม มีบทบาทในการทำงานร่วมกัน

• ช่วยรักษาความดันออสโมติก

• ช่วยรักษาสมดุลน้ำ

• ควบคุมสมดุลกรด - เบส และอิเล็กโทรไลต์

• เกี่ยวข้องกับกระบวนการเผาผลาญสารอาหารในร่างกาย

แหล่งอาหารที่พบโซเดียม ได้แก่ เกลือแกงที่ใช้ประกอบอาหาร เครื่องปรุงต่างๆ นม และเนย

ปริมาณที่แนะนำต่อวัน : โซเดียม 2,400 มิลลิกรัม

ผลของการได้รับโซเดียมมากเกินไป : ร่างกายอยู่ในสภาวะบวมน้ำ
ร่างกายสูญเสียโพแทสเซียมออกทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น ในระยะยาวจะก่อให้เกิดโรคเรื้อรัง
เช่น ไตวาย หัวใจวาย สมองตีบตัน เป็นต้น



แหล่งอาหารที่พบโพแทสเซียม ได้แก่ มะเขือเทศ ส้ม กล้วย มันเทศ มันแกว

ปริมาณที่แนะนำต่อวัน : โพแทสเซียม 2,000 มิลลิกรัม

ผลของการได้รับโพแทสเซียมมากเกินไป : กล้ามเนื้อล้า หัวใจเต้นผิดปกติ
มีผลอันตรายต่อไต

แมกนีเซียม (Magnesium)

ในระยะแรกจะไม่มีอาการใดๆ แต่เมื่อไขมันสะสมพอกหนาเป็นเวลานานหลายปี จนหลอดเลือดแดงตีบตัน ทำให้อวัยวะสำคัญขาดเลือดไปเลี้ยง จะเกิดอันตราย และก่อให้เกิดโรคต่างๆ เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจวาย หรือเสียชีวิตเฉียบพลัน การกำหนดค่าของไขมันในเลือดมีดังนี้

ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่จะไปเพิ่มโคเลสเตอรอลชนิดแอลดีแอล (LDL) และเพิ่มไตรกลีเซอไรด์ จึงเป็นไขมันที่ควรบริโภคให้น้อยที่สุด ส่วนโคเลสเตอรอลชนิดเอชดีแอล (HDL) ร่างกายควรมีในปริมาณมาก เนื่องจากเป็นโคเลสเตอรอลที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย ช่วยเก็บกวาดโคเลสเตอรอลไม่ดีมาทิ้งที่ตับ ทำให้ไขมันในหลอดเลือดลดลง และลดความเสี่ยงของหลอดเลือดตีบตันได้

ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูง

1. ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ทำให้ร่างกายมีความบกพร่องในการเผาผลาญไขมัน

2. พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง

3. มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน และขาดการออกกำลังกาย

4. สูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

5. ความเครียด

6. เป็นผลจากการเป็นโรคอื่นมาก่อน เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย โรคเบาหวาน โรคไต โรคพิษสุราเรื้อรัง ฯ

หลักการควบคุม และป้องกันไขมันในเลือดสูง

การบริโภคอาหารอย่างถูกต้อง เป็นรากฐานสำคัญของการควบคุม และป้องกันภาวะไขมันในเลือดสูง ได้แก่

1. ได้รับโคเลสเตอรอลจากอาหารไม่เกิน 300 มก.ต่อวัน โดยเลือกบริโภคเนื้อสัตว์ที่มีโคเลสเตอรอลน้อยกว่า 100 มก. ได้แก่ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และหนัง หรือลดเนื้อสัตว์ แล้วเพิ่มโปรตีนจากถั่ว เลือกดื่มนมไขมันต่ำ หรือนมถั่วเหลือง และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง

2. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว เพราะจะทำให้ไขมันไม่ดีในเลือดสูงขึ้น พบมากในหนัง ไขมันเนื้อสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ (เบคอน ไส้กรอก ฯ) กะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม หลีกเลี่ยงอาหารทอด และเลือกบริโภคปลาเนื้อขาวซึ่งมีไขมันต่ำกว่า 5% หลีกเลี่ยงไขมันทรานส์ ซึ่งเป็นไขมันอันตราย ถ้าบริโภคมากจะทำให้ไขมันแอลดีแอล (LDL) เพิ่มขึ้น และลดไขมันเอชดีแอล (HDL) ที่เป็นไขมันดี ไขมันทรานส์ พบได้ในเบเกอรี่ ขนมกรุบกรอบสำเร็จรูป อาหารสำเร็จรูป เนยเทียม เป็นต้น

3. เลือกบริโภคอาหารที่มีกรดไขมันดี เลือกไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งมีกรดไขมันไลโนเลอิก จะช่วยลดไขมันแอลดีแอล (LDL) และลดโคเลสเตอรอล โดยทำให้การเผาผลาญโคเลสเตอรอลที่ตับเพิ่มขึ้น ควรได้รับกรดไขมันไลโนเลอิกร้อยละ 7 ของพลังงานที่ได้รับ หรือวันละ 2 - 3 ช้อนโต๊ะ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด ฯ การผัด หรือทอดควรใช้ความร้อนที่ไม่สูงมาก หรือไม่ให้ถึงจุดเกิดควัน บริโภคปลาทะเลสัปดาห์ละ 2 - 3 ครั้ง เนื่องจากมีกรดไขมันโอเมก้า 3 และดีเอชเอ (DHA) ซึ่งช่วยลดไขมันชนิดไม่ดี และควรเลือกวิธีการปรุงอาหารด้วยวิธีต้ม หรือนึ่ง

4. เลือกบริโภคอาหารที่มีใยอาหารสูง วันละ 4 - 5 ทัพพี เลือกผัก และผลไม้รสหวานน้อย ชนิดที่มีใยอาหารสูง เช่น แอปเปิ้ล ฝรั่ง ถั่วเขียว ข้าวโพดอ่อน แครอท ถั่วฝักยาว เม็ดแมงลักฯ จะช่วยลดโคเลสเตอรอลในเลือด โดยใยอาหารจะจับกับโคเลสเตอรอลในลำไส้เล็ก ทำให้ถูกดูดซึมได้น้อย

5. ลด และควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยในแต่ละมื้อ ควรบริโภคอาหารในปริมาณที่พอเหมาะ ลดปริมาณแป้งลง 1 ใน 3 แล้วเพิ่มผัก และถั่วชนิดต่างๆ เข้าไปแทน

6. ออกกำลังกายแบบต่อเนื่อง ครั้งละประมาณ 20 - 30 นาที เลือกชนิดกีฬาที่ทำได้อย่างสม่ำเสมอ 4 - 5 ครั้งต่อสัปดาห์ เช่น เดินเร็ว วิ่ง เต้นแอโรบิก ฯ ทำให้ไขมันชนิดดีเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5

7. หลีกเลี่ยง และรู้จักผ่อนคลายความเครียด ควรนอนให้เพียงพอทุกวัน และออกกำลังแบบตะวันออก เช่น ไทเก๊ก โยคะ หรือฝึกหายใจช้าๆ เป็นประจำ

8. เลิกสูบบุหรี่ จะทำให้ไขมันชนิดดี เพิ่มมากขึ้นหลังเลิกสูบบุหรี่ใน 1 สัปดาห์

9. ลด และเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

10. รักษาโรคเรื้อรัง ที่ทำให้ระดับไขมันในเลือดสูง และควบคุมโรคให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี

ลดไขมันเลว..เพิ่มไขมันดี..ด้วยอาหาร

• ปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน เป็นต้น

• น้ำมันพืชที่ไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น

• ธัญพืชต่างๆ โดยเฉพาะชนิดที่ไม่ขัดสี และถั่วต่างๆ

• อะโวคาโด รวมทั้งผักใบเขียว ผักสีเหลือง - ส้ม และผลไม้ที่มีรสหวานน้อย