[ใหม่] หมาหมุ่ยอินเดีย

462 สัปดาห์ ที่แล้ว - กรุงเทพมหานคร - คนดู 147

650 ฿

  • หมาหมุ่ยอินเดีย รูปที่ 1
  • หมาหมุ่ยอินเดีย รูปที่ 2
  • หมาหมุ่ยอินเดีย รูปที่ 3
  • หมาหมุ่ยอินเดีย รูปที่ 4
  • หมาหมุ่ยอินเดีย รูปที่ 5
รายละเอียด
12.gifหมามุ่ยอินเดีย12.gif
หมามุ่ยในเมืองไทย9.gif

55.gifหมามุ่ย หรือ ถั่วเวลเวท (Velvet bean) คนทั่วโลกรู้จัก ถั่วเวลเวท แต่คนไทยหลายคนอาจจะไม่รู้จักแต่ถ้าบอกว่า “หมามุ่ย” จะรู้จักเป็นอย่างดี เพราะ ในสมัยเด็กหลายคนคงมีโอกาสได้ใช้ฝักของหมามุ่ยในการแกล้งเพื่อนบ้าง ถ้าเป็นผู้ใหญ่ก็คงไม่มีใครอยากเข้าใกล้ เพราะหากสัมผัสฝักของหมามุ่ยทำให้เกิดอาการแพ้ระคายเคือง เกิดอาการคัน หรือถึงขั้นปวดแสบปวดร้อน มีอาการบวมแดง  ในทั่วโลกมีหมามุ่ยมากกว่า 100 สายพันธุ์ ในไทยมีเพียงประมาณ 13 พันธุ์ หมามุ่ยที่พบในประเทศไทยมีลักษณะใบรูปร่างคล้ายรูปไข่หรือรูปไข่ปนขนมเปียกปูน หมามุ่ยจัดเป็นพืชตระกูลถั่ว ลักษณะทั่วไปของหมามุ่ย เป็นไม้เลื้อยล้มลุก เป็นพืชเถาซึ่งมีขนที่ฝัก ที่มีทั้งชนิดที่คันและไม่คัน แต่ในไทยเป็นสายพันธุ์ส่วนใหญ่มีขนพิษที่ฝัก ลำต้นเล็กเหนียวคล้ายเชือก ดอกออกเป็นช่อห้อยลง สีม่วงแก่ถึงม่วงออกดำ  โคนใบอาจมีทั้งมน กลม หรือหน้าตัดก็ได้ ตัวใบบางและมีขนทั้งสองด้าน ดอกสีม่วงดำ ออกเป็นช่อตามง่ามใบ มีเมล็ด 4-7 เมล็ดฝักจะมีขนอ่อนคลุม ฝักแก่กลายเป็นพืชที่มีพิษ ซึ่งมีขนคันและไม่คันจากฝัก เมื่อขนพิษสัมผัสกับผิวหนังทำให้เกิดอาการคัน เนื่องจากขนประกอบด้วยเอนไซม์มูคูแนน (mucunain enzyme) ที่สามารถย่อยโปรตีนได้ เซโรโทนิน (serotonin) และมีสารคล้ายฮิสตามีน (histamine) ทำให้เกิดพิษ เมื่อสัมผัสขนของฝักหมามุ่ยจึงก่อให้เกิดอาการระคายเคืองมาก คัน ปวดแสบปวดร้อนหรือบวมแดง 
2.gifความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหมามุ่ย
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Mucuna Prureins(L) DC. Var Utilis หรือเรียกว่า ถั่วเวลเวท (Velvet bean)ชื่อวงศ์ FABA CEAE ชื่ออื่นๆ ในภาษาถิ่น คือ กลออื้อแช  โพล่ยู มะเหยือง และหมาเหยืองสำหรับในประเทศไทยสายพันธุ์หมามุ่ยที่พบ2 กลุ่ม คือ
            1.หมามุ่ยชนิดขนไม่คัน จะเป็นกลุ่มไม้ป่า Mucuna pruriens (L.) DC. Cultivar group Pruriens ซึ่งขนประกอบด้วยสารพิษปกคลุมที่ผฝัก ทำให้เกิดอาการคันเมื่อสัมผัส มีทั้งสายพันธุ์ทั้งเม็ดเล็กแม็ดใหญ่ และเมล็ดมีหลายสี อาทิเช่น สีขาว สีดำสีชมพู และสีครีมซึ่งมีฤทธิ์ทางยาเช่นเดียวกับหมามุ่ยสายพันธุ์ต่างประเทศ แต่ไม่เหมาะปลูกเชิงการค้าเนื่องจากเป็นพืชที่มีขนเป็นพิษ
            2.หมามุ่ยชนิดขนไม่คัน ส่วนกลุ่มที่เป็นไม้ปลูก Mucuna pruriens (L.) DC. Cultivar group Utillis จะไม่มีขนพิษที่ฝัก ไม่มีการปลูกในประเทศไทย เท่าที่พบมีสายพันธุ์เมล็ดใหญ่ชนิดเดียว ไม่ได้ขึ้นเองตามธรรมชาติ ลักษณะของขนจะสั้นเหมือนถั่วแระญี่ปุ่นและขนจะ ไม่มีพิษ ลักษณะของใบจะใหญ่กว่าของหมามุ่ยชนิดขนคัน และดอกจะมีช่อที่ใหญ่และยาวกว่า ช่อดอกสีขาว หมามุ่ยไม่คันนั้น มีชื่อเรียกต่างกันตามภูมิภาค เช่นเรียกว่า ถั่วยักษ์, ถั่วครก, ถั่วพร้า, ถั่วอีใต้ และถั่วขอ เป็นต้น หมามุ่ยชนิดขนไม่คันนี้พบได้ตามภาคใต้ของประเทศไทยแต่ในปัจจุบันพบกระจายตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย เมล็ดจะใหญ่กว่าเมล็ด หมามุ่ยชนิดขนคันมาก สามารถแยกแยะด้วยตาเปล่าได้ สรรพคุณของหมามุ่ยชนิดขนไม่คันที่พบในไทย ไม่มีสรรพคุณทางยา แต่ชาวบ้านมักจะปลูกกันกินเป็นอาหาร โดยเด็ดยอดดอกอ่อนมาจิ้มน้ำพริกนำเมล็ดมาต้ม กินเหมือนต้มถั่วแระ และรสชาติจะออกมันเหมือนถั่วแระ
หมามุ่ยกับงานวิจัยแหล่งอ้างอิง ม.เกษตร
การวิจัยหมามุ่ยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เริ่มต้นในปี 2554 โดยหมามุ่ย ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ที่ทำการวิจัยเป็นสายพันธุ์จากต่างประเทศ เป็น”สายพันธุ์อินเดีย” และจีนที่มีลักษณะพิเศษตรงที่ขนของฝักไม่ก่อให้เกิดอาการคัน เป็นสายพันธุ์ที่ทั่วโลกให้การยอมรับถึงความปลอดภัยและบริโภคกันทั่วโลก LD 50 มากกว่า 2000 mg/kg (LD 50 คือ ปริมาณสารที่เราให้กับสัตว์ทดลอง แล้วสัตว์ทดลองตายไปครึ่งหนึ่ง หรือ  50%) ส่วนลักษณะเมล็ดสองสีคือ สีขาวและสีดำ สรรพคุณเด่นของหมามุ่ยที่คนทั่วไปรู้จักคือ เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศและบำรุงร่างกาย